ภูเก็ต - คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาเสวนาของรัฐสภา เกี่ยวกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตปีที่20 ณ กรุงโดฮารัฐกาตาร์ (ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์)
เมื่อวันนี้ 6 มีนาคม 2566 เวลา14:00-16:30 น. ณ กรุงโดฮารัฐกาตาร์ ตัวแทนสภารัฐบาลไทยประเทศไทย ได้เข้าร่วมประชุมเสวนาเกี่ยวกับอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตปี2556 โอกาสนี้ นายสุทา ประทีป ณ ถลาง รอง.กมธ.ปปช.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานหัวหน้าคณะรัฐสภาไทย ได้กล่าวถ้อยแถลงในนาม คณะผู้แทนรัฐสภาไทย ต่อที่ประชุมสมัชชา มีสาระสาคัญว่า ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกัน และต่อต้านการทุจริตและให้ความร่วมมือ องค์การระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาโดยเป็นไปตามหลักการพื้นฐานของระบบกฎหมาย ความร่วมมือดังกล่าว อาจรวมถึงการมีส่วนร่วมในแผนการดำเนินงานและโครงการระหว่างประเทศ ในโอกาสนี้เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของประเทศไทย ในการปฏิบัติตามอนุสัญญา UNCAC นับตั้งแต่ประเทศไทยให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา UNCAC เมื่อปี พ.ศ. 2554 ได้มีความคืบ หน้าในความพยายามต่อต้านการทุจริตที่สอดคล้องกับอนุสัญญา UNCAC โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางกรอบทางกฎหมาย ของประเทศซึ่งประเทศไทยได้ตรากฎหมายเพื่อต่อต้านการทุจริต ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551และ พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดั่งกล่าว
การบริหารจัดการกิจการบ้านเมืองและทรัพย์สินของรัฐ อย่างเหมาะสม ความซื่อสัตย์สุจริตความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้โดยเป็นไปตามหลักการพื้นฐานภาคี แต่ละรัฐต้องพยายามที่จะประเมินเครื่องมือทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมาตรการทางการบริหารปกครองเป็นระยะเพื่อ พิจารณาเสริมแนวปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งมุ่งป้องกันและต่อต้านการทุจริต หรือรัฐภาคีต้องให้ความร่วมมือระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนามาตรการ ต่าง ๆ อาจรวมถึงการมีส่วนร่วมในแผนการดำเนินงานและโครงการระหว่างประเทศ ป้องกันการทุจริต
สำนักงาน ป.ป.ท. เร่งรัดการดำเนินการกำหนดแผนปฏิบัติการระดับตัวมีการรับรู้การทุจริตระยะ 4 ปี การป้องกันการติดสินบน 2 ด้าน การตรวจสอบการใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ด้านการใช้งบประมาณและทรัพยากรภาครัฐอย่างคุ้มค่าและ ด้านประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอยู่ระหว่างการจัดทำแผนฯ ของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตภายใต้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เพื่อเป็นกรอบการดำเนินการในการขับเคลื่อนแบบค้าการรับรู้การทุจริตให้สูงขึ้น ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้ง 4 ด้านและสอดคล้องการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตามเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ให้เจ้าหน้าที่รัฐสร้างการรับรู้และมีส่วนร่วมให้กับภาคประชาชนและภาคประชาสังคมพร้อมปลูกจิตสำนึกสร้างความโปร่งใสและซื่อสัตย์สุจริตในหน่วยงานภาครัฐ ตรวจสอบติดตามเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตการใช้จ่ายงบประมาณต่างๆ.
นายสมชาย สังข์สนธ์ รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดภูเก็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น