นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

พรรคเศรษฐกิจไทย บุกปักธงจังหวัดสตูล เสียงตอบรับเลือกตัวแทนพรรคฯ เขตเลือกตั้งที่ 2 เนืองแน่น

 พรรคเศรษฐกิจไทย บุกปักธงจังหวัดสตูล เสียงตอบรับเลือกตัวแทนพรรคฯ เขตเลือกตั้งที่ 2 เนืองแน่น



ณ หอประชุมโรงเรียนพรรษนันท์ศึกษา ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล สมาชิกพรรคเศรษฐกิจไทยจำนวนมาก เข้าร่วมการประชุมเลือกตั้งตัวแทนพรรคฯประจำจังหวัดสตูล เขตเลือกตั้งที่ 2 โดยมีเจ้าหน้าที่ กกต.จังหวัด ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ด้วย





ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเลือกตัวแทนพรรคประจำเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดสตูล  3 ลำดับดังนี้ ลำดับที่ 1 นายโสภณ  วิเชียรฉาย ลำดับที่ 2 นายสมโภชณ์  ทองจีน และลำดับที่ 3 นายถวิล  หอยหนู  พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังได้เลือกสถานที่ตั้งที่ทำการตัวแทนพรรค เป็นบ้านเลขที่ 69/1 หมู่ 7 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เนื่องจากเหมาะสมเป็นสถานที่ประสานงานและติดต่อสมาชิกต่อไป ด้านตัวแทนพรรคฯ ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกทุกคนที่มาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง และการประชุมดำเนินการเสร็จสิ้นด้วยความเรียบร้อย 

#พรรคเศรษฐกิจไทยสตูล 


วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ต.เถินบุรี !! เปิดโครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม "จักสานก๋วยสลาก" เพื่ออนุรักษ์ ระลึกถึงบรรพบุรุษ ญาติมิตรที่ล่วงลับ

 ต.เถินบุรี !!  เปิดโครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม "จักสานก๋วยสลาก" เพื่ออนุรักษ์ ระลึกถึงบรรพบุรุษ ญาติมิตรที่ล่วงลับ



วันที่ 29 สิงหาคม 2565 นายสมศักดิ์ วัชรธาดาพงศ์ นายอำเภอเถิน เป็นประธานเปิดโครงการ " สืบสานประเพณีวัฒนธรรม จักสานก๋วยสลาก" ณ วัดดอยป่าตาล ม. 7 ต.เถินบุรี อ.เถิน จ.ลำปาง โดยมีนายกิจเจริญ ไหวดี กำนันตำบลเถินบุรี ประธานชมรม กำนัน - ผู้ใหญ่บ้านอำเภอเถิน ร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เขตพื้นที่ตำบลเถินบุรี จัดโครงการ "สืบสานประเพณีวัฒนธรรมจักสานก๋วยสลาก" เพื่อ แสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษ ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วก๋วยสลากนั้นจะเป็นการนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปทรงกระบอก เพื่อนำมาบรรจุข้าวสารอาหารแห้งและของที่จำเป็นนำไปรวมกันที่วัด เพื่อทำพิธีทางศาสนาแต่เมื่อถึงยุคสมัยเปลี่ยนไป ปัจจุบันชาวบ้านนิยมนำถังพลาสติกมาบรรจุข้าวสารอาหารแห้ง มาแทนการใช้ก๋วยสลากที่จักรสานด้วยไม้ไผ่เหมือนแต่เดิม







ซึ่งในการจัดกิจกรรม ฝึกอบรมโครงการ"สืบสานประ เพณีวัฒนธรรม จักสานก๋วยสลาก" มีผู้เข้าร่วมโครง การจำนวน  70  คน   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาขนบธรรมเนียม ประเพณีทำก๋วยสลากให้กับประชาชนที่มีความสนใจ เพื่อเป็นการอนุ รักษ์ผลิตภัณฑ์ก๋วยสลากซึ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญา ชาวบ้านให้เด็กและเยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา เพื่อเป็น การลดการใช้พลาสติก   ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน และเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก และเยาวชน ให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเป็นการสร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่งด้วย วิทยากรผู้สอนได้มีผู้สูงอายุ  ที่มีความรู้ด้านการจักสานในชุมชน อาจารย์จากศูนย์ กศน. ตำบลเถินบุรี และอาจารย์จากโรงเรียนบ้านป่าตาล ร่วมแบ่งปันความรู้สอนการจักรสาน ให้แก่ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมในครั้งนี้


ทั้งนี้ ชะลอม หรือ ภาษาเหนือ เรียกว่า "ก๋วย" ใช้ใส่สิ่งของได้หลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ ไข่ หรือของแห้งต่าง ๆ ชะลอมเป็นภาชนะจักสานที่ใช้กันทั่วไปทุกภาค ชาวอีสานบางทีเรียก กะลอม ส่วนภาคเหนืออาจเรียกว่าซะลอม การสานชะลอม หรือ "ก๋วย" มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของที่ใช้บรรจุ นอกจากจะใช้ในการใส่สิ่ง ของสำหรับการเดินทางแล้วยังใช้ชะลอมสำหรับการประกอบพิธีกรรมอีกด้วย ดังเช่นในประเพณีทำขวัญข้าว ใส่เครื่องเซ่นเพื่อรับขวัญข้าว เมื่อถึงคราวต้องจัดเครื่องเซ่น  








สำหรับการทำขวัญข้าวในยามที่ข้าวตั้งท้อง หรือประเพณีตานก๋วยสลาก หรือการทำบุญ สลากภัตรของชาวล้านนาในภาคเหนือของประเทศไทย  ซึ่งนิยมปฏิบัติกันตั้งแต่นห้วงเดือนกันยายน -  ตุลาคม ของทุกปี เป็นประเพณีการทำบุญที่ไม่เลือกเจาะจงพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง   คำว่าตานก๋วยสลากนั้น"ตาน" หมายถึงการถวายทานแด่พระสงฆ์  "ก๋วย" หมายถึงภาชนะสานประเภทตะกร้า ตานก๋วยสลาก จึงหมายถึงการถวายทานด้วยวิธี จับสลากเครื่องไทยทานที่บรรจุมาในชะลอม  








การถวายตานก๋วยสลากมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ เป็นการอุทิศให้เทพยดาและผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นการอุทิศไว้ให้ตนเองเมื่อล่วงลับภาคหน้าด้วยชาวล้านนาเชื่อกันว่าถวายตานก๋วยสลากนี้จะได้รับอานิสงส์แรงมาก เนื่องจากเป็นการทำบุญสังฆทานซึ่งผู้ถวายทานไม่ได้เจาะจงตัวผู้รับว่าจะเป็นพระภิก ษุหรือสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง ปัจจุบันไม่ค่อยมีการใช้ชะลอมอย่าง ดังเช่นในอดีต

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ชุมพร - รร.สอาดเผดิมวิทยาจัดพิธี อัญเชิญและมอบถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

 ชุมพร - รร.สอาดเผดิมวิทยาจัดพิธี อัญเชิญและมอบถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี


วันนี้ เวลา 10.00 น. 29 สิงหาคม 2565 




นาย  เอกวุฒิ ไกรมาก ผู้อำนวยการโรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา ได้ จัดพิธี อัญเชิญและมอบถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เนื่องในโครงการ " สัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2565 " ณ หอประชุมเจ้าคุณประเดิม อาคาร 11 ชั้น5 รร.สอาดเผดิมวิทยา 







   ในการนี้  นาย โชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นผู้อัญเชิญ และมอบถ้วยพระราชทาน ให้กับ 

-โรงเรียนประทิววิทยา (ระดับมัธยมตอนต้น)

- โรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน (ระดับประถมตอนต้น)

- โรงเรียนบ้านหาดส้มแป้น (ระดับประถมศึกษาตอนปลาย) และ มอบเกียรติบัตร ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการที่มีรายชื่อ กว่า 40 โรงเรียน 

  โครงการสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2565 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา ครั้งที่ 16 เพื่อแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และดำเนินตามรอยพระยุคลบาท ในการอนุรักษ์สืบทอดการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง รวมทั้งการสร้างความตระหนัก และเห็นความสำคัญของภาษาไทย การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพรทุกสังกัดจำนวน 44 โรงเรียน ครูจากโรงเรียนในจังหวัดชุมพรทุกสังกัด จำนวน 225 คน และมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 401 คน 






      กิจกรรมในครั้งนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในการช่วยอนุรักษ์ภาษาไทยใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและเหมาะสม ขอยอดความรู้ทักษะทางด้านภาษาไทยให้นักเรียนเยาวชนแตกฉานยิ่งๆขึ้นไป

ธนากร โกศลเมธี รายงาน 0818923514

ชุมพร - องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร จัดประชุม สมัยสามัญ ประจำ พ.ศ.2565 สมัยที่ 2 ครั้งที่ 2

ชุมพร - องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร จัดประชุม สมัยสามัญ ประจำ พ.ศ.2565 สมัยที่ 2 ครั้งที่ 2 



วันนี้ เวลา 14.00 น. ที่ 29 สิงหาคม 2565  นายชัยพงษ์ ทองคำ (ประธานสภา อบจ.ชุมพร) นาย นพพร อุสิทธิ์ (นายก อบจ.ชุมพร) และ สมาชิกสภาองค์การบริหารจังหวัดชุมพร จัดประชุม สมัยสามัญ สมัยที่ 2 ครั้งที่ 2 ณ หอประชุมกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์  อบจ.ชุมพร   ว่าด้วยเรื่อง การรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว และ 



- การพิจารณาร่างข้อบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ 2566 วาระที่สอง

 (ขั้นแปรญัตติ)

   -การพิจารณาร่างบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2566 วาระที่สาม 

(ขั้นลงมติ) และ มีการเสนอเรื่องใหม่ 












-การพิจารณาร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปี พ.ศ. 2565 วาระแรก (ขั้นรับหลักการ)


 ธนากร โกศลเมธี รายงาน 0818923514

ส.ส. ภาคภูมิ รุดช่วยเหลือ ปชช.บ้านแม่โพ หมู่ 7 ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ที่เดือดร้อนจากผลกระทบ 'หมาอ๊อน’ ทำน้ำป่าไหลหลาก

 ส.ส. ภาคภูมิ รุดช่วยเหลือ ปชช.บ้านแม่โพ หมู่ 7 ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ที่เดือดร้อนจากผลกระทบ 'หมาอ๊อน’ ทำน้ำป่าไหลหลาก



นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข ส.ส.เขต 3 จ.ตาก พรรคเศรษฐกิจไทย นำคณะลงพื้นที่ เยี่ยมเยือนให้กำลังใจประชาชน พร้อมมอบถุงยังชีพ น้ำดื่มและข้าวสาร ให้ประชาชนในพื้นที่บ้านแม่โพ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลาก พัดพาบ้านเรือน ที่สวน ไร่นา จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก










มีรายงานว่า พื้นที่หลายหมู่บ้านทั้งหมู่ 1, 2, 6 และ หมู่ 7 ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ได้รับผลกระทบจากพายุ ‘หมาอ๊อน’ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ทำให้มีฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากลงลำห้วยแม่โพ ลำห้วยบ้านใหม่ และลำห้วยขุนห้วยแม่ต้าน ส่งผลให้น้ำเอ่อล้นไหลเข้าท่วมในพื้นที่ดังกล่าวได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งปัจจุบันระดับน้ำลดลงสู่ภาวะปกติแล้ว









#พรรคเศรษฐกิจไทยตาก 

ชุมพร - พ่อเมืองชุมพร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากฝนทิ้งช่วง ต.ทุ่งระยะ อ.สวี

 ชุมพร - พ่อเมืองชุมพร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากฝนทิ้งช่วง ต.ทุ่งระยะ อ.สวี ชุมพร ฝนทิ้งช่วงเกิดปัญหาภัยแล้งหนักทุกพื้นที่ ทุเรียนขาดน้...