นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ชุมพร – เปิดเวทีรับฟ้งความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ที่ขอประทานบัตร


ชุมพร  – เปิดเวทีรับฟ้งความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ที่ขอประทานบัตร









    วันที่  30 สิงหาคม 2561 เวลา 10.00 . สำนักงานอุสาหกรรมจังหวัดชุมพร นายสกล กาญจนรังษี อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพรเป็นประธาน และเจ้าหน้าที่มาเข้าประชุมรับฟังในเวทีรับฟ้งความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ที่ขอประทานบัตร ณ ที่ทำการบริหารส่วนตำบลสะพลี ตำบลสะพลี อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร ได้รับการร่วมมือจากพี่น้องประชาชนที่อยู่ใกล้บริเวณชอบเขตพื้นที่ที่จะทำเหมือง ในหมู่ที่ 3. 6. 10.ตำบลสะพลี อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร เข้าร่วมรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จำนวน 1700 คน








นายสกล กาญจนรังษี อุตสาหกรรมจังหวัด เผย พื้นที่เขาตะแคง จำนวน 204ไร่ ทางรัฐบาลมองเห็นว่าภูเขาตรงนี้เป็นของพี่น้องประชาชนทุกท่านเป็นทรัพย์สินของรัฐ ฉะนั้นให้หน่วยราชการมาเป็นตัวกลางมาเปลี่ยนความคิดเห็น มารับฟ้งความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ เพราะในกิจกรรมที่มีประโยชน์ก็จะมีมลภาวะที่เกิดขึ้นตามมา เช่นการระเบิดมันมีเสียงจากการระเบิด  โดยวันนี้จะรวบร่วมความคิดเห็นความต้องการของประชาชน ที่เข้ารวมเวทีรับฟ้งความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ที่ขอประทานบัตรในวันนี้ ส่งขึ้นไปให้คณะกรรมการส่วนกลาง จะได้ตรวจตราและเพื่อพิจารณาในครั้งนี้ อีกครั้งหนึ่ง และจะออก กฎ ระเบียบตาม พรบ.ที่รับการร้องเรียนซึ่งหน้าว่าด้วย มลภาวะ ฝุ่น ผลกระทบด้านฝุ่นละออง สร้างความรำคาญ ผลกระทบด้านเสียง  ให้กับพี่น้องประชาชนมานานแล้วให้หมดไปครับ
   นายแทน ศิริวิโรจน์  ผู้จัดการบริษัทเจริญศิลาทอง    ได้ออกมายอมรับว่าจะทำตามข้อเสนอของประชาชนทุกอย่างและขั้นตอนในปีหน้านี้ และแก้ไขผลกระทบด้านสุขภาพอนามัยและสังคม โดยรถบรรทุกทุกคันจะต้องล้างล้อก่อนออกจากโรงโม่หิน และจะต้องใช้ผ้าใบคลุมรถบรรทุก เพื่อป้องกันการร่วงหล่นของแร่ และการฟุ้งกระจายของฝุ่นแร่เป็นการเร่งด่วน และจะจัดตั้ง กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ เพื่อเป็นงบประมาณในการเฝ้าระวังหรือตรวจสุขภาพที่เกี่ยวข้องจากกิจกรรมการทำเหมืองแร่ สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ ในรัศมีไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร ตามอัตราการผลิตแต่ละปีโดยต้องไม่น้อยกว่า 2 แสนบาทต่อปี กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ เพื่อเป็นงบประมาณในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนโดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ไม่น้อยกว่า 5 แสนบาทต่อปี  และยังรับปากจะดำเนินการแก้ไขตามที่ประชาชนร้องขอมาในเวทีรับฟ้งความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ที่ขอประทานบัตร ในครั้งนี้
ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514 ชุมพร




วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ชุมพร - จัดกิจกรรมการเพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village) 8 เส้นทาง เพื่อเชื่อมโยงการตลาดท่องเที่ยวกับภาคธุรกิจ ตามโครงการหมู่บ้าน OTOP (OTOP Village)


ชุมพร - จัดกิจกรรมการเพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village) 8 เส้นทาง เพื่อเชื่อมโยงการตลาดท่องเที่ยวกับภาคธุรกิจ ตามโครงการหมู่บ้าน OTOP (OTOP Village)

       วันที่ 29 สิงหาคม 2561 เวลา10.00 . นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมตามโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village) 8 เส้นทาง ในกิจกรรมการเชื่อมโยงการตลาดท่องเที่ยวกับภาคธุรกิจ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพรจัดขึ้น ณ โรงแรมนานาบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ซึ่งกิจกรรมดังการเป็นการเชื่อมโยงการตลาดท่องเที่ยวกับภาคธุรกิจ ซึ่งได้เชิญ ภาคธุรกิจจากประเทศลาว นำโดย นายเสี่ยวสะวาด แสวงศึกษา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สปป.ลาว นอกจากนี้ยังมีภาคธุรกิจทั้งในและต่างจังหวัดเข้าร่วม












      นางสาวจันทนี ยุติบรรพ์ พัฒนาการจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า รัฐบาลปัจจุบัน มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ มุ่งเน้นการสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคง โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเขตพัฒนาการท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของคนในชุมชน ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม และมีชื่อเสียงสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอย่างยั่งยืน การเสริมสร้างอาชีพและรายได้จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การผลิตสินค้าชุมชน การให้บริการลูกค้าในด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน จะมีโอกาสมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม และที่สำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว จำนวน 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน จำเป็นต้องสร้างความเป็นต้นแบบการพัฒนา และสร้างการเชื่อมโยงกิจกรรมการท่องเที่ยวกับโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จำนวน 3,273 ชุมชน ในพื้นที่ 76 จังหวัด เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้จากคนในชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืน
















สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพร ได้รับอนุมัติงบประมาณ การส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายในประเทศ โครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว 8 เส้นทาง ดำเนินการในพื้นที่บ้านหินกูบ หมู่ 3 ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร จำนวน 15 กิจกรรม วงเงินงบประมาณกว่า 3.8 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้ให้กับชุมชน โดยการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมโยงแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเส้นทางท่องเที่ยวตามเขตพัฒนาการท่องเที่ยว 8 เส้นทาง ให้มีความโดดเด่นบนอัตลักษณ์ของชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างและพัฒนาบุคลากร ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวให้มีขีดความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ และสามารถนำมาต่อยอดในการจัดการหมู่บ้านได้อย่างเหมาะสม  อีกด้วย









ธนากร โกศลเมธี รายงาน 0818923514 ชุมพร

ชุมพร - พ่อเมืองชุมพร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากฝนทิ้งช่วง ต.ทุ่งระยะ อ.สวี

 ชุมพร - พ่อเมืองชุมพร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากฝนทิ้งช่วง ต.ทุ่งระยะ อ.สวี ชุมพร ฝนทิ้งช่วงเกิดปัญหาภัยแล้งหนักทุกพื้นที่ ทุเรียนขาดน้...