นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ชุมพร – จัดการประชุมการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนจังหวัดชุมพร


ชุมพร – จัดการประชุมการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนจังหวัดชุมพร

วันที่ 26 มิถุนายน 2561 เวลา 08.30 น. นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนจังหวัดชุมพร” ณ ห้องพุทธรักษา โรงแรมมรกตชุมพร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรในวันนี้





นายสุพล จุลใสนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เผย ตามที่จังหวัดชุมพรกำหนดนโยบาย และทิศทางด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน จังหวัดสะอาด ประจำปี 2561 ตามแผนแม่บท การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ.2559 – 2564 โดยมีกรอบการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการที่แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยใช้หลักการ   3ช: ใช้น้อย ใช้ ซ้ำ  และนำกลับมาใช้ใหม่ และหลักการ “ประชารัฐ” ซึ่งมีตัวชีวัดเป้าประสงค์ด้านขยะอันตราย ได้แก่หมู่บ้าน – ชุมชน ร้อยละ 100 ซึ่งมีการจัดตั้งจุดรวบร่วมขยะอันตรายจากชุมชน โดยมอบหมายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เป็นผู้ดำเนินการรวบร่วมของเสียอันตรายจากชุมชนจังหวัดชุมพรไปกำจัด ณ แหล่งรับกำจัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งตั้งแต่ปี 2560 ถึงปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพรได้ดำเนินการรวบร่วมของเสียอันตรายจากชุมชนจากองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นต่างๆ ที่นำมาส่ง ขณะนี้ได้จำนวนประมาณ 940 กิโลกรัม ดังนั้น เพื่อให้การจัดการของเสียอันตรายชุมชนจังหวัดชุมพร ในปี 2561 ได้ดำเนินการและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนอย่างครบวงจร และให้มีสถานที่กักเก็บขยะที่เป็นสัดส่วน ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร จึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนจังหวัดชุมพร” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบที่ปฏิบัติงานด้านขยะมูลฝอย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร  เพื่อรณรงค์ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน  เพื่อให้การดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานด้านบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี 2561 เป็นไปตามเป้าหมายคือ “หมู่บ้าน และชุมชน ร้อย 100 มีการจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตรายจากชุมชน” และทุก อปท. มีการคัดแยกขยะอันตรายพร้อมส่งศูนย์รวบรวมฯ เพื่อนำไปกำจัด ให้ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ตัน องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพรจึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือการจัดการขยะอันตรายจังหวัดชุมพร กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำการลงนามใน MOU ในวันนี้






      นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เผย ในปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายที่เกิดภายในชุมชน จากบ้านเรือนหรือสถานประกอบการตางๆ เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)จึงให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนจึงได้กำหนดให้มีการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ โดยเมื่อในวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ได้มีมติเห็นชอบ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นด้วยกับ แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559 – 2564 โดย ลดการเกิดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่แหล่งกำเนิด การนำเอาของเสียกลับมาใช้ซ้ำ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนของภาคการผลิตร่วมทั้งลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอย เพื่อให้เกิดหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างยังยืน ต่อไป









ธนากร โกศลเมธี รายงาน / ชุมพร

ชุมพร - งานรณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน


ชุมพร - งานรณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน

วันที่ 26 มิถุนายน  2561 เวลา 09.00 น ณ โรงแรมมรกต อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร    สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรสงขลาจึงได้จัดงานรณรงค์และประชาสัมพันธ์ป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ด้อยคุณภาพวงเล็บทุเรียนอ่อนซึ่งเป็นกิจกรรม หนึ่งของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรภาคใต้เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์ป้องกันแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนของ 14 จังหวัดภาคใต้และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลไม้คุณภาพแก่แปลงใหญ่ทุเรียนในเขตภาคใต้ในวันที่ 26 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมมรกต อำเภอเมืองชุมพรจังหวัดชุมพรโดยมีผู้เข้าร่วมงานได้แก่การส่งเสริมเกษตรกรสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลาสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานไม้ผลจาก 14 จังหวัดภาคใต้ ผู้แทนเกษตรกรในแปลงใหญ่ทุเรียนผู้รวบรวมผลไม้เพื่อส่งออกลงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นจังหวัดชุมพรอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดชุมพรตำรวจภูธรจังหวัดชุมพรศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรกรชุมพรกรมวิชาเกษตรตะกอนด่านศุลกากรชุมพรรวมจำนวน 65 คน




       ในงานจะประกอบไปด้วยการเสวนา เรื่องมาตรการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนโดยผู้แทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องของผู้แทนเกษตรกรและผู้แทนผู้รับซื้อผลไม้นอกจากนั้นยังมีการบรรยายและสาธิตการใช้เครื่องวัดคุณภาพทุเรียนโดยใช้เทคโนโลยีอินฟราเรดอย่างไพร่ซึ่งเป็นเครื่องมือ วัดความสุกแก่ของทุเรียนโดยไม่ทำลายตัวอย่างผลงานจาก ผศ.ดร. รณฤทธิ์ ฤทธิรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และการเข้าเยี่ยมชมสวนทุเรียนคุณภาพและโรงงานแปรรูปทุเรียนในพื้นที่อำเภอปะทิวจังหวัดชุมพรทั้งนี้ผลที่คาดได้ว่าจะได้รับการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ดังกล่าว สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพของ 14 จังหวัดภาคใต้ที่อาจจะปะปนเข้ามาในตลาดทุเรียนภาคใต้และสร้างความตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นหากมีการนำทุเรียนด้อยคุณภาพเข้าสู่ตลาดให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้




นายธาร นวลนึก เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ ๘ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เผย  การจัดการรณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตผลไม้เขตร้อนที่สำคัญของโลกซึ่งผลไม้เศรษฐกิจหลักสำคัญของประเทศไทยได้แก่ทุเรียนที่สามารถปลูกและให้ผลผลิตได้ทุกภูมิภาคโดยในปี 2561 มีพื้นที่ให้ผลผลิต 690951 ไร่และคาดว่าจะมีผลผลิตรวม 734,284 ตัน ในขณะที่ภาคใต้เป็นแหล่งผลิตใหญ่รองลงมาจากภาคตะวันออกโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชุมพรที่มีพื้นที่ให้ผลผลิตสูงเป็นอันดับที่สองรองจากจังหวัดจันทบุรีและผลผลิตมากกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตทุเรียนภาคใต้มีกลุ่มลงผลไม้หรือผู้รวบรวมสินค้าเกษตรสำหรับจำหน่ายในประเทศและส่งออกต่างประเทศเปิดจุดรับซื้อจำนวนมากและพร้อมจะรับซื้อทั้งผลผลิตของจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงอีกทั้งราคาจำหน่ายทุเรียนในปี 2561 มีแนวโน้มสูงขึ้น 







จากปีก่อนก่อนซึ่งผลผลิตที่ออก มาก่อนฤดู การมักจะได้ราคาสูงอาจเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ไม่สุก แก่หรือที่เรียกว่าทุเรียนอ่อนส่งมาจำหน่ายในตลาด ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาผลผลิตด้อยคุณภาพไม่ได้มาตรฐานเข้าสู่ตลาด ทำ ให้กระทบต่อชื่อเสียงของประเทศไทย และตลาดต่างประเทศขาดความเชื่อถือในสินค้าจากแหล่งผลิตภาคใต้จนอาจทำให้ราคาของทุเรียนตกต่ำจากการที่มีสินค้าด้อยคุณภาพปะปนกับสินค้าคุณภาพมีการระบายสินค้าออกได้ช้าซึ่งจะทำให้มีผลผลิตตกค้างเน่าเสียหายและเป็นการทำลายรายได้และเศรษฐกิจของเกษตรกรที่มีผลผลิตออกในช่วงฤดูการปกติซึ่งจะเก็บเกี่ยวช้ากว่าผลผลิตกลุ่มนี้อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้ และให้นำมาตรการทางกฎหมายเข้ามาใช้อย่าง เคร่งครัดซึ่งจะเป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่งด้วย จากผลดังกล่าวข้างต้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนหากมีการนำทุเรียนด้อยคุณภาพเข้าสู่ตลาดจึงได้ดำเนินการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ป้องกันปัญหาทุเรียนอ่อนอาจจะเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขเกิดปัญหาดังกล่าวต่อไปได้ในอนาคต

ธนากร โกศลเมธีรายงาน / ชุมพร

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ชุมพร – โครงการฝึกอบรมทีมบริหารเหตุวิกฤตการณ์ (RPM)ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร


ชุมพร – โครงการฝึกอบรมทีมบริหารเหตุวิกฤตการณ์ (RPM)ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร

วันที่ 25 มิถุนายน 2561 เวลา 09.00 ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ฝึกทีมบริหารเหตุวิกฤตการณ์ ณ โรงแรมชุมพรการ์เดนส์ อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร พลตำรวจตรี สนธิชัย อาวัฒนกุลเทพ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร มาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมทีมบริหารเหตุวิกฤตการณ์ (RPM)ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร กล่าวขอขอบคุณคณะวิทยากรทุกท่าน และผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกท่านที่ได้เสียสละเวลามาบรรยาย และฝึกการปฏิบัติให้กับทีมบริหารวิกฤตการณ์ของตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร
     พันตำรวจเอก วิมล พิทักษ์บูรพา รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร เผย วิกฤตการณ์ หมายถึง เพตุการณ์ที่เป็นภัยคุกคามที่มีแนวโน้มอันจะก่อให้เกิดภยันตรายร้ายแรงต่อเนื่อง และยากต่อการควบคุม มีความเสี่ยงภัยในการปฏิบัติงาน เป็นภยันตรายที่มีแนวโน้มอันที่จะล่วงละเมิดกฎหมายอย่างร้ายแรง การจับตัวประกัน การก่อการจลาจล การเดินขบวนประท้วง โดยกลุ่มคนจำนวนมากที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรง สำหรับในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้ปรากฏความเคลื่อนไหวของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในบางพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มเรียกร้องราคาพืชผลทางการเกษตร กลุ่มเรียกร้องที่ดินทำกิน ฯลฯ ดังนั้นเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร จึงได้จัดตั้งทีมบริหารวิกฤตการณ์ระดับตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร และระดับสถานีตำรวจ เพื่อเป็นทีมบริหารจัดการคลี่คลายสถานการณ์วิกฤตการณ์ให้เข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด รวมทั้งให้เกิดเอกภาพในการควบคุม สั่งการและป้องกันความสับสนในการปฏิบัติของหน่วยต่างๆที่เข้ามาสนับสนุนภารกิจได้ด้วยดี



       พลตำรวจตรี สนธิชัย อาวัฒนกุลเทพ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร เผย การบริหารวิกฤตการณ์ หมายถึง การบริหารจัดการเพื่อคลี่คลายสถานการณ์วิกฤตการณ์ ให้เข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด รวมถึงการปฏิบัติการณ์ บรรทาภัยพิบัติ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ต่างๆ ซึ่งในการบริหารเหตุการณ์ จะต้องคำนึงถึงการเผชิญความจริง และการทำงานเป็นทีม มีการว่างแผนและประสานงานของทีม เพื่อหาแนวทางยุติสถานการณ์ และหาแนวทางป้องกันการเกิดเหตุการณ์วิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ด้งนั้นการจัดอบรมสัมมนาโครงการฝึกอบรมทีมปริหารเหตุวิกฤตการณ์ (RPM)ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ในครั้งนี้ถือเป็นความสำคัญ เป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการบริหารเหตุการณ์หรือภยันตรายร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมระดับหัวหน้าสถานีตำรวจ ทำหน้าที่ ผบ.เหตุการณ์ , รอง ผบ.เหตุการณ์ , ข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่าย และเจ้าหน้าที่ รวม ทั้งสิ้น 150 นาย  การฝึกอบรมในครั้งนี้ใช้งบประมาณของตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร



ธนากร โกศลเมธี รายงาน / ชุมพร


วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ชุมพร - กิจกรรมแข่งขันวิ่งภายใต้โครงการว่ายปั่นวิ่งเชื่อมโยงเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก Royal Coast จังหวัดชุมพร


ชุมพร - กิจกรรมแข่งขันวิ่งภายใต้โครงการว่ายปั่นวิ่งเชื่อมโยงเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก Royal Coast จังหวัดชุมพร






  วันที่ 24 มิถุนายน 2561 เวลา 06.00 น จัดกิจกรรมแข่งขันวิ่งภายใต้โครงการว่ายปั่นวิ่งเชื่อมโยงเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก Royal Coast จังหวัดชุมพร ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชุมพร


    นายสมชาย เสมมณี ท่องเที่ยวกีฬาจังหวัดชุมพรเป็นประธาน เปิดกิจกรรม ว่ายปั่นวิ่งเชื่อมโยงเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก Royal Coast จังหวัดชุมพร จากวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมที่กล่าวมานั้นก่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดชุมพรให้มากขึ้นโดยการใช้กีฬาเป็นสื่อซึ่งเป็นสิ่งที่มีความน่าสนใจและเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความสนใจทางด้านกีฬาและการพักผ่อนอีกทั้งมีผู้ชมที่เดินทางเข้ามาร่วมกิจกรรมเกิดการใช้จ่ายกระจายรายได้สู่พื้นที่และเป็นโอกาสที่จะเป็นช่องทางในการนำเสนอความเป็น สวยงามของแหล่งท่องเที่ยวและความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชุมพรตลอดจนเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดและจังหวัดในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก Royal Coast ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดเพชรบุรี









ประจวบคีรีขันธ์ระนองและจังหวัดชุมพร และหวังว่าการจัดกิจกรรมการแข่งขันวิ่งภายใต้โครงการว่ายปั่นวิ่งเชื่อมโยงเขตพัฒนาท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก Royal Coast จังหวัดชุมพรในครั้งนี้จะดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี เป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความสนใจทางด้านกีฬาและการพักผ่อนอีกทั้งมีผู้ชมที่เดินทางเข้ามาร่วมกิจกรรมเกิดการใช้จ่ายกระจายรายได้ต่อไป

ธนากร โกศลเมธีรายงาน / ชุมพร

ชุมพร - พ่อเมืองชุมพร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากฝนทิ้งช่วง ต.ทุ่งระยะ อ.สวี

 ชุมพร - พ่อเมืองชุมพร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากฝนทิ้งช่วง ต.ทุ่งระยะ อ.สวี ชุมพร ฝนทิ้งช่วงเกิดปัญหาภัยแล้งหนักทุกพื้นที่ ทุเรียนขาดน้...