นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

วัน”พระบิดาแห่งฝนหลวง”ของปวงชนชาวไทย

          



 วัน”พระบิดาแห่งฝนหลวง”ของปวงชนชาวไทย


         วันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ประชาชนชาวชุมพรน้อมสำนึกในพระมหากรุณาที่คุณเป็นล้นผลอันหาที่สุดมิได้ แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในวัน”พระบิดาแห่งฝนหลวง”ประจำปี 2560
         นายณรงค์ พลละเอียดผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วยบรรดาข้าราชการเจ้าหน้าที่ผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆนักเรียนนักศึกษาและประชาชนจังหวัดชุมพรได้มาชุมนุมพร้อมกัน ณ หอประชุมเทศบาลเมืองชุมพรชั้นสามตำบลท่าตะเภาอำเภอเมืองชุมพรจังหวัดชุมพร  มีจิตปลื้มปิติโสมนัสเป็นล้นพ้นที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมพุทธศักราช 2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็น”พระบิดาแห่งฝนหลวง” และได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันบิดาแห่งฝนหลวง เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบังคับเมฆให้เกิดเป็นผลจนเกิดเป็นเทคโนโลยีฝนหลวงที่ขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากให้แก่ประสบนิกรของพระองค์ที่ประสบภัยแล้งและเป็นองค์ประกอบในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศจวบจนปัจจุบัน ประสบนิกรชาวไทยทั้งมวลต่างสำนึกและตระหนักว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงตรากตรำพระวรกายในการส่งงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรผู้ยากไร้ด้อยโอกาสทั่วทุกภาคของประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยทรงมีพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลตลอดจนพระองค์ อัจฉริยภาพและพระวิริยะอุตสาหะในการทรงทุ่มเทให้กับการประดิษฐ์คิดค้นวิจัยและพัฒนาจนเกิดเป็นโครงการพระราชดำริมากมายนับประการซึ่งรวมถึงโครงการพระราชดำริฝนหลวงอันก่อเกิดประโยชน์คุณโนปกรณ์อเนกอนันต์แก่ปวงชนชาวไทยด้วยพระเมตตาทำและพระจริยธรรมที่ล้ำเลิศยิ่งในพระเมตตาที่คุณยังมิรู้เสื่อมคลาย





              ในโอกาสวันพระบิดาแห่งฝนหลวงได้เวียนมาบรรจบครบรอบใน 62 ปีในวันนี้ข้าพเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต นำข้าราชการเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆและประชาชนซึ่งได้มาร่วมชุมนุม ณ ที่แห่งนี้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายสักการะเพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาที่คุณเป็นล้นผลอันหาที่สุดมิได้แดกพระบาทสมเด็จ พระปรมินทร์ถ้ารู้มหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรปวงข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายความจงรักภักดีและขอตั้งปฏิญาณน้อมนำแนวพระราชดำริที่พระราชทานไว้ไปปฏิบัติด้วยความตั้งใจมั่นสืบไป











 ประวัติศาสตร์ฝนหลวง
14 พฤศจิกายนของทุกปี กำหนดให้เป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวงเพื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ให้ประชาชนทั้งในปัจจุบันและคนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดี ชื่นชมพระบารมีในพระปรีชาสามารถ และร่วมกันถวายสดุดีเฉลิมพระเกียรติติดต่อกันไปทุกปี
ซึ่งความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง เกิดขึ้นจากพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9  เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร 15 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 2-20 พฤศจิกายน พ.ศ.2498
ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์เดลาเฮย์ ซีดานสีเขียว จากจังหวัดนครพนมไปจังหวัดกาฬสินธุ์ ผ่านจังหวัดสกลนครและ เทือกเขาภูพาน ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรและนักประดิษฐ์ควายเหล็กที่มีชื่อเสียงเข้าเฝ้าฯ แล้วพระราชทานแนวความคิดนั้นแก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล
จากทฤษฎีเริ่มแรกที่เกิดขึ้นหลังจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงใช้เวลาอีก 14 ปี ในการวิเคราะห์วิจัย ทบทวนเอกสาร รายงานผลการศึกษาและข้อมูลต่างๆ พระราชทานให้ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เพื่อประกอบการค้นคว้าทดลองมาโดยตลอด
จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้
การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้น กราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว
ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองเป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรกโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลอง
ในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลมพ้นไปจากสายตาไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผล โดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้ เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้









                                                                 ธนากร โกศลเมธี  รายงาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง

   ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เปิดศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดอาภากร...