สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรลงพื้นที่จังหวัดชุมพร.
วันที่ 9 พฤศจิกายน
2560 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรลงพื้นที่จังหวัดชุมพรนำเสนอแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมของเส้นทางรถไปชุมพรท่าเรือน้ำลึกระนอง.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้จัดประชุมเพื่อนแนะนำโครงการและระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจวิศวกรรม
และสิ่งแวดล้อมเส้นทางรถไฟชุมพรท่าเรือน้ำลึกระนอ ณ ห้องประชุมพุดพิชญา โรงแรมนานาบุรี
อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยมี นายชัยสิทธิ์ พาณิชพงศ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรเป็นประธานเปิดการประชุม
พร้อมด้วยนายวิจิตต์ นิมิตวานิช
นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรและมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสถาบันการศึกษาและสื่อมวลชนเข้าร่วมประชุม
นายชัยสิทธิ์ พาณิชพงศ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรเปิดเผยว่าจังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดหนึ่งของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยที่มีศักยภาพในการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบทางการเกษตรที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญเช่นปาล์มน้ำมันยางพารากาแฟทุเรียนและมังคุดมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเช่นอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร
ศาลเสด็จกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และเรือรบหลวงที่ปัจจุบันจังหวัดชุมพรมีการพัฒนาโครง
สร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้แก่ ถนนช่องจราจรทางรถไฟ
และทางอากาศยาน รวมทั้งปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายแผนงานโครงการพัฒนาสำคัญในพื้นที่จังหวัดชุมพรซึ่งอยู่ระหว่างการขออนุมัติโครงการเช่นโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชุมพรสุราษฎร์ธานีเป็นต้นการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่
เส้นทางรถไฟชุมพรท่าเรือน้ำลึกระนองนี้จะช่วยเสริมศักยภาพของพื้นที่ให้สามารถเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้าในระบบปรับไฟและระบบการขนส่งทางถนนทางน้ำและทางอากาศด้วย.
นายวิจิตต์ นิมิตวานิช กล่าวเพิ่มเติมจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
11 ตุลาคม 2559 ที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลางและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันเมื่อวันที่
16 กันยายน 2559 และมอบให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลางและกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามันในการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมโยงเอาไทยกับฝั่งทะเลอันดามัน
จากจังหวัดชุมพรถึงจังหวัดระนองสำหรับการ คมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวสองฝั่งทะเลรวมทั้งเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกจังหวัดระนองเพื่อรองรับการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่ประเทศ
BIMSTEC ในอนาคตกระทรวงคมนาคมจึงมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเส้นทางรถไฟชุมพรท่าเรือน้ำลึกระนองระยะเวลาดำเนินการศึกษา
10 เดือน เริ่มเดือนพฤษภาคม 2560 ถึงกุมภาพันธ์
2561
สำหรับการศึกษาดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องโดยใช้ช่วงเริ่มต้นการศึกษาได้มีการจัดประชุมปฐมนิเทศโครงการเพื่อแนะนำและชี้แจงความเป็นมาของโครงการเหตุผลและความจำเป็นของการพัฒนาโครงการตลอดจนแนวทางและขั้นตอนการศึกษาเพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งมีการลงพื้นที่ในจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนองโดยการเข้าพบเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการ
ระดับจังหวัด
และอำเภอเพื่อหารือและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยผลการดำเนินงานดังกล่าวได้นำมาเป็นส่วนประกอบของการคัดเลือกการพัฒนาและปรับปรุงเส้นทางปัจจุบันได้ศึกษาและจัดรายงานขั้นกลาง
Interim Report เรียบร้อยแล้วขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์
Draft Final Report จากการศึกษาสำรวจและวิเคราะห์เพื่อประเมินและคัดเลือกแนวเส้นทางโดยพิจารณาจากปัจจัยสามด้านได้แก่ด้านวิศวกรรมด้านเศรษฐกิจและการลงทุนและด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมพบว่าแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุดคือแนวเส้นทางที่หนึ่งมีจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพรและอยู่ในด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด
โดยแนวเส้นรถไฟจะโค้งออกจากรถไฟสายใต้เดิมมุ่งไปยังทิศตะวันตกและขนานกับทางหลวงหมายเลขสี่ถนนเพชรเกษมผ่านพื้นที่เขตอำเภอเมืองจังหวัดชุมพรอำเภอกระบุรีอำเภอละอุ่นและอำเภอเมืองจังหวัดระนองจนสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนองรวมระยะทาง
102.5 กิโลเมตรโดยตำแหน่งสถานีเบื้อง
เก้าสถานีได้แก่สถานีขุนกระทิงสถานีบ้านนาสักที่สถานีวังใหม่สถานีประจันสถานีกระบุรีสถานีบางใหญ่สถานีละอุ่นสถานีท่าเรือระนองและจากสถานีท่าเรือระนองจะมีเส้นทางแยก
Spur Line เข้าสู่เมืองระนองโดยสิ้นสุดที่สถานีระนองระยะทางประมาณ
4 กิโลเมตร.
นายวิจิตต์ นิมิตวานิช กล่าวต่อท้ายว่าสำหรับการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผลการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทางทางเลือกรูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมรวมทั้งการกำหนดรูปแบบแนวคิดเบื้องต้นของทางรถไฟรูปแบบสถานีผู้โดยสารแนวคิดทางสถาปัตยกรรมอาคารของสถานี
และออกแบบแนวคิดจุดตัดทางรถไฟพร้อมทั้งแนวทาง
เบื้องต้นในการจัดปัญหาต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุดและมีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการดำเนินงานศึกษาให้มีความสมบูรณ์ต่อไป
ธนากร โกศลเมธี รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น