นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566

ชุมพร - โรงเรียนในชนบท นำขยะมาผลิตเสื้อชูชีพใช้งานได้ดี แนวความคิดมาจากเรือรบหลวงสุโขทัยที่ขาดแคลนเสื้อชูชีพ

 ชุมพร - โรงเรียนในชนบท นำขยะมาผลิตเสื้อชูชีพใช้งานได้ดี แนวความคิดมาจากเรือรบหลวงสุโขทัยที่ขาดแคลนเสื้อชูชีพ

จากกรณีเรือรบหลวงสุโขทัย ได้อับปาง ที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีลูกเรือทั้งสิ้น 105 นาย แต่เสื้อชูชีพมีอยู่เพียง 80 ตัวเท่านั้น ไม่เพียงพอกับกำลังพล จึงทำให้ เกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยของลูกเรือ ลูกเรือส่วนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือจากเรือรบหลวงกระบุรี แต่ส่วนหนึ่งสูญหายไปบางรายเสียชีวิต



วันที่ 6 มกราคม 2566     โรงเรียนประชานิคม 4 ตำบลหงส์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ได้มีการนำเศษวัสดุเหลือใช้หรือขยะในโรงเรียน ในหมู่บ้าน มาผลิตเป็นเสื้อชูชีพ เพื่อป้องกันเด็กจมน้ำ หรือผลิตแจกให้กับชุมชน จนได้รับรางวัลชนะเลิศ นวรรกรรมดีเด่นของจังหวัดชุมพร

นางวราพร ศรีพนมยม ครูที่ปรึกษาเด็กนักเรียน เปิดเผยว่า  ปัญหาขยะในโรงเรียนมีมีอยู่ทุกวัน จึงมีแนวคิด ให้ความรู้นักเรียนในการคัดแยกขยะออกมาแต่ละประเภท ทั้งขยะแห้ง ขยะเปียก และขยะรีไซเคิล  ได้ปรึกษากับเด็กนักเรียนว่าจะนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง เด็กนักเรียนได้เสนอให้นำเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือโครงงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการชูชีพ โดยลำดับแรกที่นักเรียนทำ คือถุงปุ๋ย ซึ่งเป็นวัสดุธรรมดา ตามบ้านนักเรียนมีแทบทุกหลัง นำมาเป็นส่วนสำคัญ ตัดเป็นเสื้อ เย็บกระเป๋าสำหรับใส่ขวดพลาสติกด้านหน้า และด้านหลัง เปรียบเสมือนเป็นทุ่นลอยน้ำได้เลย

ที่สำคัญที่แตกต่างไปจากเสื้อกั๊กชูชีพที่มีขายในท้องตลาดทั่วไปก็คือ สามารถที่จะถอดขวดน้ำพลาสติกออก  เป็นเสื้อธรรมดาสวมใส่ เมื่อจะลงน้ำหรือไปในสถานที่เสียงก็ใส่ขวดพลาสติกแล้วล๊อกไว้ ก็จะเป็นเสื้อชูชีพได้ สามารถช่วยผู้อื่นได้ทันที  นอกจากนี้ตรงส่วนข้างหลังคอ ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะใช้ขวดใส่ลงไป เพื่อให้สามารถที่จะรับน้ำหนักบริเวณคอ หากหมดแรงก็สามารถลอยอยู่ได้ ที่ผ่านมาได้ให้นักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง คณะทรัพยากรทางน้ำ นำไปทดลองใช้ ได้รับการยืนยันว่า ใช้งานได้เป็นอย่างดี



ด้าน นายศักดิ์ชาย กิมเซียะ ผู้อำนวยการโรงเรียนประชานิคม 4 เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้เสื้อชูชีพที่ผลิตจากเศษวัสดุเหลือใช้ทั้งถุงปุ๋ยและขวดพลาสติก ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนของจังหวัดชุมพร ในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ซึ่งกำลังจะไปแข่งขันต่อในระดับภาคใต้ที่จังหวัดสตูลในเดือน มกราคม นี้ ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวประชานิคม 4  ที่เน้นถึงความปลอดภัยในสถานศึกษา และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการบูรณาการเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ ที่เอามาให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถที่จะต่อยอดได้ระดับของชุมชนได้ หรือในเครือข่ายการศึกษาได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกหน่วยงาน เสื้อชูชีพจากขยะใช้ได้จริง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ สวมใส่ปลอดภัย 100%  จึงอยากจะเชิญชวนให้ทุกชุมชน หรือส่วนราชการต่างๆ ได้นำแนวคิดนี้ไปใช้ ต่อยอดและพัฒนาเพื่อความปลอดภัยของทุกๆคนในการป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำ

ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง

   ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เปิดศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดอาภากร...