นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ชุมพร - จัดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพื้นที่แบบองค์รวมเทศบาลตำบลชุมโคโดยพระจอมเกล้าลาดกระบังชุมพรและ เบทาโกร



ชุมพร - จัดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพื้นที่แบบองค์รวมเทศบาลตำบลชุมโคโดยพระจอมเกล้าลาดกระบังชุมพรและ เบทาโกร
วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 เวลา 14.00น  เก็บขยะที่ เกาะไข่ ปลูกบ้านปลา(ทำซังบ้านปลา) ปล่อยเต่า และปล่อยลูกปูจำนวน 5 ล้านตัว   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ได้


นำเสนอนโยบายและแนวทางในการพัฒนาวิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์และพื้นที่ชุมชนโดยรอบของ
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ต่อกรรมการสภาสถาบันเพื่อกำหนดเป็นกรอบในการพัฒนาบุคลากรของ
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ด้านการวิจัยโดยมุ่งเน้นการวิจัยเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (Area based
collaborative research: ABC) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อการพัฒนาชุมชนโดย
กำหนดพื้นที่อำเภอปะทิวรวมทั้งการวิจัยแบบมุ่งเป้า (Targeted research) ร่วมกับเทศบาลตำบลชุมโคในการพัฒนาชุมโคโมเดล (Chumco Model)” เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพของตำบลชุมโคตามกรอบการพัฒนาของช่องสาลิกาโมเดล ที่ทางเครือเบทาโกรได้ดำเนินการในพื้นที่ตำบลช่องสาลิกา อำเภอพัฒนานิคมจังหวัดลพบุรีโดยมีประเด็นในการพัฒนาประกอบด้วย




                1) การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจโดยมุ่งเน้นทางด้านพืชเศรษฐกิจหรืออาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่
ได้แก่ปาล์มน้ำมันยางพาราโคนมและประมงชายฝั่ง
                2) การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยในเบื้องต้นจะดำเนินการด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ชุมชน ชายทะเลรวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งในตำบลชุมโค
                3) การพัฒนาด้านสังคมได้แก่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในพื้นที่
                4) การพัฒนาการศึกษาโดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและ
                5) การพัฒนาทางด้านสุขภาพอนามัยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยติดเตียงการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ (Noncommunicable disease: NCDs)
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชนเทศบาลตำบลชุมโคสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์และบริษัทเบทาโกร จำกัด(มหาชน) จึงได้มีการจัดทำร่างความร่วมมือทางวิชาการขึ้นในการพัฒนาพื้นที่แบบบูรณาการในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจจากอาชีพหลักด้านการศึกษา ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและด้านสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเชิงพื้นที่ตำบลชุมโคด้านเศรษฐกิจสังคมสุขภาพการศึกษาและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและที่สำคัญที่สุดสถาบันอยากจะเห็นภาพของ สจล. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ อยู่ในใจของประชาชนจังหวัดชุมพร  ที่เขาได้เอ่ยนามว่า “เขาโชคดีที่มี สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ในพื้นที่จังหวัดชุมพร” เป็นสถาบันที่สร้างอาชีพ สร้างเพื่อน สร้างมิตรไมตรี สมกับคำว่า “ I LOVE KMITL”จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพเชิงพื้นที่ตำบลชุมโคภายใต้ชื่อ“K-BAC CRS”(Corporate SocialResponsibility) ซึ่งเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร








จากการพัฒนาที่มุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจที่ผ่านมาของสังคมโลกและสังคมไทยได้ส่งผลกระทบ
ต่างๆตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจปัญหาการกระจายตัวของ
รายได้ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้ไปเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่สิ้นสุด
รวมทั้งปัญหาของมลภาวะที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาในบริบทของสังคมโลกปัญหาสิ่งแวดล้อมได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางรวมทั้งได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสาธารณะเมื่อรองประธานาธิบดี
Al Gore ได้นำเสนอแนวคิดของผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลพวงจากการพัฒนา (Pellikaan and
van der Veen, 2002) หากพิจารณาในมุมมองของการพัฒนาที่มุ่งเน้นทางเศรษฐกิจสัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตโต, 2551) ได้กล่าวไว้ว่าเมื่อธรรมชาติที่แวดล้อมเป็นปัญหาการพัฒนาก็มาถึงจุดวิกฤตและสรุปปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมไว้2 ประเด็น
คือ 1) ของดีที่มีอยู่ในโลกถูกผลาญให้หมดไปอาจจะเรียกว่าเป็นปัญหาประเภทความร่อยหรอของ
ทรัพยากรธรรมชาติและ 2) ปัญหาสิ่งที่เสียก็ถูกระบายใส่ให้แก่โลก

                การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือองค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐบาล(NGO : Non – government
organization) เป็นปรากฏการณ์ของการปรากฏตัวของขบวนการทางสังคมใหม่ (New social
movement) เป็นการรวมกลุ่มของผู้ที่มีจุดยืนต่อการกำหนดนโยบายหรือแนวทางการพัฒนาของรัฐ
เนื่องจากประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมถึงได้รับผลกระทบโดยตรงต่อการกำหนดนโยบายของรัฐ
(จุฑาทิพคล้ายทับทิม, 2550) โดยจันทนาสุทธิจารี (2545) ได้ให้ความหมายการมีส่วนร่วมทางการเมืองว่าการมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองของประชาชนตามสิทธิที่ระบบการเมืองและกฎหมาย
กำหนดให้กระทำได้เป็นการกระทำที่ต้องเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของประชาชนเพื่อให้มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐทั้งในการเมืองการปกครองระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
                หากแต่ว่าความหมายและความเป็นจริงของการเมืองเป็นเรื่องของการแบ่งปันทรัพยากรและ
คุณค่าต่างๆในสังคมดังนั้นในสังคมประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจึงเป็น
องค์ประกอบที่สำคัญและขาดไม่ได้กับการบริหารการเมืองจะเห็นได้ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ประชาชนพื้นที่ทางการเมืองและการจัดสรรอำนาจมีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด
ของธเนศวร์เจริญเมือง (2551) ที่กล่าวว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (People’s
political participation) สามารถจำแนกได้สองความหมายที่จะนำไปสู่รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการ
                ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการมีส่วนร่วมสาธารณะคือกระบวนการที่ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายสาธารณะและเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติร่วมแบ่งปันผลประโยชน์และร่วมรับผิดชอบในผลกระทบของนโยบายสาธารณะนั้นๆโดยมยุรีอนุมานราชธน (2552) ได้จำแนกผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะอย่างเป็นทางการ (Official policy -maker) ซึ่งได้แก่สถาบันฝ่ายนิติบัญญัติฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการส่วนที่ไม่เป็นทางการ(Unofficial policy-maker) ได้แก่กลุ่มผลประโยชน์ (Interest group) พรรคการเมือง (Political parties)และประชาชนทั่วไป (Individual citizen)












                ดังนั้นในการพัฒนาหรือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นไปภายใต้กรอบประชาธิปไตยที่แท้จริงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดท้านโยบายสาธารณะหรือบริการสาธารณะควรพึงระวังการเมืองของผู้เชี่ยวชาญที่ไปครอบงำหรือควบคุมวิธีคิดการตัดสินใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนด้วยชุดความรู้ขอตัวแสดงภาครัฐและตัวแสดงที่อยู่ภายนอกชุมชน ดังนั้นการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนและเสริมแรง (Empowerment) เพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพของชุมชน
                ตำบลชุมโคมีครัวเรือนทั้งสิ้น4,177ครัวเรือนจำนวนประชากร 9,876คนความหนาแน่นเฉลี่ย 50 คนต่อตารางกิโลเมตรราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนปาล์มยางพาราประมงและรับจ้างทั่วไป ตำบลชุมโคมีลักษณะทั่วไปเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลและมีพื้นที่เป็นที่ราบสูงสลับกับเนินเขาขนาดย่อมจะเห็นได้ว่าพื้นที่ตำบลชุมโคส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสลับกับเนินเขาและมีบางหมู่บ้านที่อยู่ติดชายทะเลประกอบไปด้วยหมู่ที่ 5, 6 และหมู่ที่ 1 สภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ของตำบลจะเป็นสวนปาล์มน้ำมันและยางพาราซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชากรมีบางส่วนที่มีอาชีพปศุสัตว์(การเลี้ยงโคนมและการเลี้ยงสุกร)การประมงอาชีพรับจ้างทั่วไปและผู้ประกอบการร้านอาหารที่พักอาศัยประเภทหอพักนักศึกษาที่พักอาศัยประเภทรีสอร์ทและที่พัก
ธนากร โกศลเมธี รายงาน / ชุมพร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - พ่อเมืองชุมพร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากฝนทิ้งช่วง ต.ทุ่งระยะ อ.สวี

 ชุมพร - พ่อเมืองชุมพร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากฝนทิ้งช่วง ต.ทุ่งระยะ อ.สวี ชุมพร ฝนทิ้งช่วงเกิดปัญหาภัยแล้งหนักทุกพื้นที่ ทุเรียนขาดน้...