นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ชุมพร - กำจัดปลาหมอสีคางดำ "สวีโมเดล"




ชุมพร - กำจัดปลาหมอสีคางดำ  "สวีโมเดล"
กรมประมงร่วมกับชมรบอนุรักษ์กุ้งก้ามกรามลุ่มน้ำสวี จัดกิจกรรมกำจัด "หมอสีคางดำ"เดินหน้าตัดวงจรชีวิตหลังพบแพร่ระบาดทั้งในบ่อเลี้ยงและธรรมชาติ

วันที่ 11 พฤษภาคม 2561 เวลา 09.00น. ณ ชมรมอนุรักษ์กุ้งก้ามกรามลุ่มน้ำสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร นายอรุณชัย พุทธเจริญ รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานจัดกิจกรรมชาวชุมพรร่วมใจขจัดภัยปลาหมอสีคางดำ(รักษ์ลุ่มน้ำสวี) เพื่อกำจัดปลาหมอสีคางดำหลังที่ได้พบว่าเกษตรได้รับความเดือดร้อน จากการแพร่ระบาด





นายอรุณชัย พุทธเจริญ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากกรณีพบปลาหมอสีคางดำแพร่กระจายพันธ์ในบ่อเลี้ยงของเกษตรกรสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากให้กับผู้เลี้ยงปลาและกุ้ง กรมประมงได้ออกคำสั่งที่223/2561 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำโดยเฉพาะนอกจากนี้ในพื้นที่จังหวัดที่พบมีการแพร่ระบาด กรมประมงได้สั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่รับฟังข้อคิดเห็นของเกษตรกรชาวประมง และชุมชนเพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อหยุดวงจรการแพร่ระบาดของปลาสายพันธุ์นี้ไม่ให้สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร และทำลายสัตว์น้ำพื้นถิ่นของประเทศ





   กรมประมงและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการออกประกาศ ลงวันที่ 9 มกราคม 2561 เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า และส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง พ.ศ.2561 มารองรับการปฏิบัติ สำหรับสัตว์น้ำ 3 ชนิดพันธุ์ที่ห้าม ตามประกาศ ได้แก่ ปลาหมอสีคางดำ ปลาหมอมายัน และปลาหมอบัตเตอร์ และมีแนวทางดังนี้ กรณีที่เกษตรกรที่เลี้ยงปลาทั้ง 3 ชนิดในบ่อเพาะเลี้ยง ให้รีบนำปลาดังกล่าวส่งมอบให้เจ้าหน้าที่กรมประมงโดยด่วน กรณีที่ประชาชนทำการประมงแล้วได้ปลาทั้ง 3 ชนิดนี้ในแหล่งธรรมชาติ ประชาชนสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้  แต่ควรทำให้ปลาตายก่อนนำไปจำหน่าย  กรณีปลาทั้ง 3 ชนิด จากธรรมชาติหลุดรอดเข้าในบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรโดยไม่เจตนาเกษตรกรสามารถนำไปจำหน่ายหรือบริโภคได้ แต่ควรทำให้ปลาตายก่อนนำไปจำหน่าย กรณีส่วยราชการ สถาบันการศึกษา หรืกรณีจำเป็นอื่นใดที่เพาะเลี้ยงปลาทั้ง 3 ชนิด ไว้เพื่อศึกษาวิจัย และประโยชน์ทางราชการให้แจ้งขออนุญาตกรมประมงต่อไป และห้ามผู้ใดปล่อยปลาทั้ง 3 ชนิด ลงในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาด เนื่องจากมีความผิดตามมาตรา 144 แห่ง พรก.การประมง 2558





จังหวัดชุมพรจัดเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่พบว่ามีเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ  และกรมประมงจึงจัดกิจกรรมชาวชุมพรร่วมใจ ขจัดภัยหมอสีคางดำ(รักษ์ลุ่มน้ำสวี) เพื่อกำจัดวงจรชีวิตการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำในจังหวัดชุมพร อย่างยังยืนต่อไป









     นายสง่า ลีสง่า ผู้อำนวยการกองวิจัย และพัฒนาประมงน้ำจืด กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ทางกรมประมงได้เตรียมลูกพันธุ์ปลากะพงไว้สำหรับปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติและมอบให้เกษตรกรนำไปปล่อยในบ่อเลี้ยงของตนเองเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดในบ่อเลี้ยง  อีกทั้งได้มอบเกียรติบัตรแก่ชมรมอนุรักษ์กุ้งก้ามกรามสวีเนื่องจากทางชมรทฯ ได้ให้ความร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี ในการจับสัตว์น้ำต่างถิ่นในพื้นที่ของตนมาตลอด












  สำหรับบทลงโทษหากพบผู้ใดฝ่าฝืน ลักลอบนำปลาหมอสีคางดำ ปลาหมอมายัน ปลาหมอบัตเตอร์ เข้ามาในราชอาณาจักร ต้องระวางโทษตามมาตรา 144 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558  จำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกรณีผู้กระทำความผิดนำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฝากถึงผู้กระทำความผิด กรมประมงมีบทลงโทษรุนแรงมากครับ






ธนากร โกศลเมธี รายงาน / ชุมพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - พ่อเมืองชุมพร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากฝนทิ้งช่วง ต.ทุ่งระยะ อ.สวี

 ชุมพร - พ่อเมืองชุมพร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากฝนทิ้งช่วง ต.ทุ่งระยะ อ.สวี ชุมพร ฝนทิ้งช่วงเกิดปัญหาภัยแล้งหนักทุกพื้นที่ ทุเรียนขาดน้...