นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ชุมพร -  ชุมพรแล้งหนัก!เจ้าของสวนน้ำตาร่วงต้นทุเรียนแห้งตายยกสวน 300 ต้นเสียหาย 1.5 ล้านบาท

 ชุมพร -  ชุมพรแล้งหนัก!เจ้าของสวนน้ำตาร่วงต้นทุเรียนแห้งตายยกสวน 300 ต้นเสียหาย 1.5 ล้านบาท

วันที่ 21 พ.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดชุมพรเกิดภัยแล้งหนักฝนทิ้งช่วงมากว่า 2 เดือน อากาศร้อนอบอ้าว ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกอำเภอ บางพื้นที่โดยเฉพาะอำเภอสวีได้รับผลกระทบอย่างหนักลำคลองน้ำแห้งขอดไม่พอใช้ทำการเกษตร



       นางเพ็ญพร  พันธุ์มณี  อายุ 58 ปี ชาวเกษตรกรปลูกทุเรียนในพื้นที่ตำบลทุ่งระยะ อ.สวี จ.ชุมพร หนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งหนักกว่าทุกปีพบว่า ได้ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองบนเนื้อที่ 16 ไร่ จำนวน 310 ต้น อายุกว่า 2 ปี กำลังเป็นความหวังสร้างรายได้งาม  กำลังยืนต้นตายยกสวนทั้งหมด บางต้นมีสภาพในแห้งร่วงเหลือแต่กิ่ง  บางต้นใบเหลืองส่วนยอดบนแห้งตาย  ใบทยอยร่วง

โดยนางเพ็ญพร  เปิดเผยว่า ฝนแล้งมากว่า 2 เดือน บางวันมีก้อนเมฆลอยปกคลุมมืดมิดส่อจะตก แต่ฝนไม่ตก ตอนนี้เดือดร้อนหนักมากทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ปลูกไว้ทยอยแห้งตายทั้งหมด มีสระน้ำ 4 ลูก สูบรดน้ำวันละ 1 ครั้งๆละแค่ 10 นาทีเฉพาะช่วงเย็นก็ยังไม่เพียงพอ น้ำในสระเริ่มหมดเหลือแค่ครึ่งหน้าแข้ง  ไม่มีน้ำใช้ ช่วยเหลือตัวเองจนไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว  สภาพยืนต้นตายไม่ได้รดน้ำทุเรียนแค่ 3 วันเพราะน้ำในสระหมด ทำให้ต้นแห้งตายรู้สึกหมดหวังถ้าในอีก 3 วันนี้ฝนไม่ตกคงตายไม่เหลือสักต้น แต่คงหมดหวังเพราะแต่ละต้นมีสภาพอย่างที่เห็น วอนอยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือดูแล

นางเพ็ญพร  เจ้าของสวนทุเรียนเผยอีกว่า ทุกปีหน้าแล้งจะมีฝนเทียมแต่ปีนี้ไม่เห็นและไม่รู้ข่าวว่ามีฝนเทียม มูลค่าความเสียหายรวมเงินลงทุกซื้ออุปกรณ์การดูแลต้น ไถ ปลูก ต้นกล้าพันธุ์ ในเนื้อที่ 16 ไร่ เป็นเงิน 1 ล้าน 5 แสนบาท”

ขณะนางเพ็ญพรเผยถึงความเดือดร้อนอยู่นั้นด้วยความรู้สึกเสียใจเก็บอาการไม่อยู่ทำให้มีน้ำตาไหลนองแก้ม โดยบอกว่าทำสวนตัวคนเดียวก็เหนื่อยแล้วต้องมาเจอกับวิกฤติฝนแล้งไม่มีน้ำใช้ ทำให้ความหวังอีก 2 ปีข้างหน้าจะได้เก็บผลผลิตแต่กลับความหวังนี้สิ้นสูญสลาย ยืนมองต้นทุเรียนที่ปลูกมากับมือแห้งเฉาตายไปต่อหน้าต่อตา

.......................................................................................

ธนากร โกศลเมธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

 ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง หลายฝ่ายเข้าสำรวจแหล่งน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจา...