ชุมพร – จัดฝึกอบรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
วันที่ 7 มิถุนายน 2561 เวลา 10.00 .น ที่ห้องหลังสวน โรงแรมชุมพร แกรนด์ พาเลซ อ.เมือง จ.ชุมพร นายอุดม
เพชรคุต ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ศูนย์ ปภ.) เขต 11 สุราษฎร์ธานี
เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประจำปี 2561
(อุทกภัย
วาตภัย ดินโคลนถล่ม) ในรูปแบบการฝึกเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise:
FEX) โดยมี นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงศ์
หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร ให้การต้อนรับและกล่าวรายงาน
มี พล.ต.ฐิติ ติตถะสิริ ผบช.มทบ.44 พ.ต.อ.วิมล พิทักษ์บูรพา รอง ผบก.ภ.จว.ชุมพร
ผกก.สภ.ทั้ง 16 แห่งใน จ.ชุมพร กำลังพลหน่วยบริการและช่วยเหลือประชาชนจาก มทบ.44
เจ้าหน้าที่อาสากู้ภัยมูลนิธิ
องค์กรต่างๆ และผู้แทนจากสถาบันการศึกษาเข้าร่วมการฝึกอบรมประมาณ 150 คน
นายอุดม เพชรคุต
ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ศูนย์ ปภ.) เขต 11 สุราษฎร์ธานี
เผย ปัจจุบันแนวโน้มของการเกิดสาธารณภัยมีความถี่และทวีความรุนแรงมากขึ้น
ภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะอุทกภัย
ซึ่งจังหวัดชุมพรยังมีราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและดินโคลนถล่มจำนวนมาก
การฝึกอบรมในครั้งนี้จึงถือเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมในการอำนวยการและการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่างๆ
ทั้งหน่วยงานทหาร หน่วยงานพลเรือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณกุศล
อาสาสมัคร สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม เพื่อให้เข้าใจหลักการ ขั้นตอน
และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง สามารถจัดการกับภัยนั้นๆ ได้อย่างทันท่วงที
นายธีรยุทธ์
จันทร์ดิษฐวงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร เผย
จังหวัดชุมพรจึงจัดการฝึกอบรมในครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์คือ
เพื่อให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดและอำเภอเป็นศูนย์กลางในการระดมสรรพกำลังและทรัพยากรในการจัดสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อทดสอบการใช้แผนเผชิญเหตุในการอำนวยการและประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่างๆ
ทั้งทหาร พลเรือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณกุศล อาสาสมัคร
สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม
และเพื่อทดสอบและประเมินขีดความสามารถของบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะด้าน
รวมทั้งบทบาทที่ใช้ในการเผชิญสถานการณ์สาธารณภัย
ปัจจุบันสถานการณ์ด้านสาธารณภัยมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น
รวมทั้งยังมีระดับความรุนแรงเกินกว่าที่หน่วยงานเพียงหน่วยเดียวจะมีความสามารถในการป้องกันและบรรเทาภัยที่เกิดขึ้นได้
การบริหารจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้น ทั้งระบบแจ้งเตือนภัย
การบัญชาการเหตุการณ์ที่มีเอกภาพ มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามแผนและแก้ไขปัญหาตั้งแต่ในภาวะปกติจนถึงขั้นเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
จึงต้องมีความพร้อมและดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ธนากร โกศลเมธีรายงาน / ชุมพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น