ชุมพร - งานรณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน
วันที่ 26 มิถุนายน 2561 เวลา 09.00
น
ณ โรงแรมมรกต อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรสงขลาจึงได้จัดงานรณรงค์และประชาสัมพันธ์ป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ด้อยคุณภาพวงเล็บทุเรียนอ่อนซึ่งเป็นกิจกรรม
หนึ่งของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรภาคใต้เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์ป้องกันแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนของ
14
จังหวัดภาคใต้และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลไม้คุณภาพแก่แปลงใหญ่ทุเรียนในเขตภาคใต้ในวันที่
26 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมมรกต อำเภอเมืองชุมพรจังหวัดชุมพรโดยมีผู้เข้าร่วมงานได้แก่การส่งเสริมเกษตรกรสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่
5 จังหวัดสงขลาสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 8
จังหวัดสุราษฎร์ธานีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานไม้ผลจาก 14 จังหวัดภาคใต้
ผู้แทนเกษตรกรในแปลงใหญ่ทุเรียนผู้รวบรวมผลไม้เพื่อส่งออกลงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นจังหวัดชุมพรอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดชุมพรตำรวจภูธรจังหวัดชุมพรศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรกรชุมพรกรมวิชาเกษตรตะกอนด่านศุลกากรชุมพรรวมจำนวน
65 คน
ในงานจะประกอบไปด้วยการเสวนา
เรื่องมาตรการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนโดยผู้แทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องของผู้แทนเกษตรกรและผู้แทนผู้รับซื้อผลไม้นอกจากนั้นยังมีการบรรยายและสาธิตการใช้เครื่องวัดคุณภาพทุเรียนโดยใช้เทคโนโลยีอินฟราเรดอย่างไพร่ซึ่งเป็นเครื่องมือ
วัดความสุกแก่ของทุเรียนโดยไม่ทำลายตัวอย่างผลงานจาก ผศ.ดร. รณฤทธิ์ ฤทธิรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และการเข้าเยี่ยมชมสวนทุเรียนคุณภาพและโรงงานแปรรูปทุเรียนในพื้นที่อำเภอปะทิวจังหวัดชุมพรทั้งนี้ผลที่คาดได้ว่าจะได้รับการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ดังกล่าว
สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพของ 14
จังหวัดภาคใต้ที่อาจจะปะปนเข้ามาในตลาดทุเรียนภาคใต้และสร้างความตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นหากมีการนำทุเรียนด้อยคุณภาพเข้าสู่ตลาดให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้
นายธาร นวลนึก เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่
๘ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เผย การจัดการรณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตผลไม้เขตร้อนที่สำคัญของโลกซึ่งผลไม้เศรษฐกิจหลักสำคัญของประเทศไทยได้แก่ทุเรียนที่สามารถปลูกและให้ผลผลิตได้ทุกภูมิภาคโดยในปี
2561 มีพื้นที่ให้ผลผลิต 690951 ไร่และคาดว่าจะมีผลผลิตรวม 734,284 ตัน
ในขณะที่ภาคใต้เป็นแหล่งผลิตใหญ่รองลงมาจากภาคตะวันออกโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชุมพรที่มีพื้นที่ให้ผลผลิตสูงเป็นอันดับที่สองรองจากจังหวัดจันทบุรีและผลผลิตมากกว่าร้อยละ
50 ของผลผลิตทุเรียนภาคใต้มีกลุ่มลงผลไม้หรือผู้รวบรวมสินค้าเกษตรสำหรับจำหน่ายในประเทศและส่งออกต่างประเทศเปิดจุดรับซื้อจำนวนมากและพร้อมจะรับซื้อทั้งผลผลิตของจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงอีกทั้งราคาจำหน่ายทุเรียนในปี
2561 มีแนวโน้มสูงขึ้น
จากปีก่อนก่อนซึ่งผลผลิตที่ออก มาก่อนฤดู
การมักจะได้ราคาสูงอาจเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ไม่สุก
แก่หรือที่เรียกว่าทุเรียนอ่อนส่งมาจำหน่ายในตลาด ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาผลผลิตด้อยคุณภาพไม่ได้มาตรฐานเข้าสู่ตลาด
ทำ ให้กระทบต่อชื่อเสียงของประเทศไทย และตลาดต่างประเทศขาดความเชื่อถือในสินค้าจากแหล่งผลิตภาคใต้จนอาจทำให้ราคาของทุเรียนตกต่ำจากการที่มีสินค้าด้อยคุณภาพปะปนกับสินค้าคุณภาพมีการระบายสินค้าออกได้ช้าซึ่งจะทำให้มีผลผลิตตกค้างเน่าเสียหายและเป็นการทำลายรายได้และเศรษฐกิจของเกษตรกรที่มีผลผลิตออกในช่วงฤดูการปกติซึ่งจะเก็บเกี่ยวช้ากว่าผลผลิตกลุ่มนี้อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้
และให้นำมาตรการทางกฎหมายเข้ามาใช้อย่าง
เคร่งครัดซึ่งจะเป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่งด้วย
จากผลดังกล่าวข้างต้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนหากมีการนำทุเรียนด้อยคุณภาพเข้าสู่ตลาดจึงได้ดำเนินการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ป้องกันปัญหาทุเรียนอ่อนอาจจะเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขเกิดปัญหาดังกล่าวต่อไปได้ในอนาคต
ธนากร โกศลเมธีรายงาน / ชุมพร
จุดขายทุเรียนเลยพ่อตาหินช้างของฝากฝั่งขาเข้ากรุงเทพ ได้นำทุเรียนอ่อนและเป็นแมลงมาจำหน่ายลูกค้าที่มาเที่ยวในราคาโลละ 80(ถือว่าเป็นการหลอกลวงในการซื้อขาย)ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปตรวจสอบนะคะ ร้านแรก ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ