ชุมพร-กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมชงครม.สัญจร
ตั้ง Oil palm City หวังควบคุมคุณภาพของปาล์ม
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0
วันนี้ (20 สิงหาคม 2561) นายสมชาย หาญหิรัญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชน พื้นที่ภาคใต้
(กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน และกลุ่มจังหวัดภาคใต้อ่าวไทย)
หารือและรับฟังข้อมูลและความต้องการ เพื่อเตรียมนำเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่
ครั้งที่ 6/2561 ในวันที่ 21 สิงหาคม 2561 โดยมีนายสันติ กีระนันทน์
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม นายทองชัย
ชวลิตพิเชฐ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายณพพงศ์ ธีระวร คณะทํางานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย
สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมจังหวัด สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สภาเกษตร
สถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่ภาคใต้ ณ
โรงแรมลอฟ์ทมาเนีย อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เปิดเผยว่า จากการหารือกับส่วนราชการ
และภาคเอกชนในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน
ได้ข้อสรุปตามข้อเสนอของภาคเอกชนพื้นที่ภาคใต้ 3 ประเด็น
เพื่อตอบสนองตามแนวทางการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมแปรรูปครบวงจร คือ
1.การจัดตั้งออยปาล์มซิตี้ (Oil palm City) เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของปาล์ม
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0
โดยภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้นำเสนอโครงการศูนย์เรียนรู้และส่งเสริม
"นวัตกรรมปาล์มน้ำมัน" เพื่อสนับสนุนโครงการ "สุราษฎ์ธานี
ออยปาล์มซิตี้" ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม จะดำเนินการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคใต้ และภาคเอกชน
ในการพัฒนาศูนย์ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด
2.เมืองนวัตกรรมและการออกแบบไม้ยางพาราเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
และการจัดการมาตรฐานการจัดการป่าไม้ยั่งยืน และรองรับ Industry 4.0
ยกระดับมาตรฐานไม้ยางพาราให้ได้มาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (FSC) ส่งเสริมการวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมยางพารา
ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมมีศูนย์ปฎิรูปอุตสาหรรมเชิงสร้างสรรค์ (ITC) ที่
จังหวัดสุราษฎ์ธานี
เป็นหน่วยงานกลางเชื่อมโยงหน่วยงานเครือข่ายในการบูรณาการบริการด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถยกระดับเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์
ซึ่งคาดว่าจะสามารถใช้พื้นที่จัดตั้งโครงการจะตั้งอยู่ที่ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ขนาดพื้นที่กว่าพันไร่ และ 3.การส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย (R&D) ทางด้านสมุนไพร
ได้กำหนดพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่มีเครือข่ายสมุนไพรที่เข้มแข็ง
ซึ่งปัจจุบันนี้มีโรงงานต้นแบบ คือ วิสาหกิจชุมชนขมิ้นชันปลอดสารพิษ (บ้านตาขุน)
ซึ่งกลุ่มเครือข่ายสมุนไพรจังหวัดสุราษฎร์มีความต้องการใช้โรงงานต้นแบบแปรรูปสมุนไพรนี้
ผลิตอาหารให้ได้มาตรฐาน อย. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (GMP) ด้านอาหาร
จึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมลงพื้นที่ช่วยเหลือและขยายโรงงานต้นแบบในพื้นที่อื่นๆ
เพื่อให้สอดคล้องเป้าหมายการเป็นเมืองแห่งสมุนไพรเอเชีย
ธิติมา โกศลเมธี รายงาน 0818923514 ชุมพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น