ชุมพร - เขาดินสอ
มีความสำคัญต่อวงเวียนชีวิตที่สืบทอดมานานนับพันปีของนกล่าเหยื่อและเป็นจุดดูเหยี่ยวอพยพ
ระดับทวีปเอเชีย
งานเทศกาลดูเหยี่ยวอพยพเขาดินสอ ในครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนตุลาคมในวันที่ 20 ตุลาคม 2561 นี้ ซึ่งเป็นฤดูกาลอพยพของนกล่าเหยื่อ ที่บินย้ายถิ่นเพื่อหนีสภาพอากาศหนาวเย็น และภาวะขาดแคลนอาหาร จากประเทศรัสเซีย จีน เกาหลี และญี่ปุ่น มุ่งหน้าลงสู่ทิศใต้ผ่านประเทศไทย มาอาศัยในภาคใต้ของไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นพื้นที่อากาศอบอุ่น และมีอาหารสมบูรณ์ ซึ่งศูนย์ศึกษาธรรมชาติเขาดินสอ เป็นหนึ่งจุด ที่ได้รับการยอมรับจากนักดูนก ทั้งไทยและต่างประเทศ ว่าเป็นจุดเฝ้าสังเกตการอพยพของนกล่าเหยื่อที่สำคัญเส้นหนึ่งของโลก และจากการติดตามและเฝ้าดูในภาคสนาม ทราบว่าในช่วงปลายเดือนกันยายน ถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีนกล่าเหยื่อกว่า 28 ชนิด ที่บินอพยพผ่านพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติเขาดินสอแห่งนี้ โดยในแต่ละปีนับได้ 3 – 5 แสนตัว ซึ่งเทศบาลบางสนได้จัดเทศกาลดูเหยี่ยวอพยพเป็นประจำทุกปี เสมือนเป็นการต้อนรับเหยี่ยวอพยพอาคันตุกะหน้าหนาว นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์สนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดชุมพรให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและนอกประเทศต่อไป
ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา. จังหวัดชุมพร
โดยอำเภอปะทิว จัดประชุมเตรียมจัดงานเทศกาลดูเหยี่ยวอพยพเขาดินสอ ประจำปี 2561
โดยมีนายธนนท์
พรรพีภาส นายอำเภอปะทิว เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมอำเภอปะทิว
ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น สื่อมวลชน
เข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดกิจกรรม
และช่วงระยะเวลาของการจัดเทศกาลดูเหยี่ยวอพยพเขาดินสอ
ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่
พร้อมกับศึกษาวิจัยชีวิตของนกล่าเหยื่อ
ร่วมไปถึงสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับนักท่องเที่ยว
และประชาชนในพื้นที่ กิจกรรมที่เตรียมไว้
อาทิ จัดให้มีการวิ่งพิชิตเขาดินสอ
นิทรรศการจากสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
นิทรรศการภาพถ่ายแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร การแข่งขันวาดภาพ กิจกรรมการถ่ายภาพ
กิจกรรมค่ายพักแรม และการทัศนศึกษาเรียนรู้เหยี่ยวอพยพ
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเล เช่น การแข่งขันตกปลา เป็นต้น
นางวิริยา
แก่นแก้ว เผย ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำจังหวัดชุมพร-ระนอง ในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่
2 เมือง 2 มหาสมุทร 2 แผ่นดิน ส่วนแคบที่สุดของแหลมมลายู (ชุมพร ระนอง)
ดิฉันใช้เงินภาษีของประชาชน ที่ได้มาด้วยแลกกับหยาดเหงื่อแรงงาน โดย
ทำงานอย่างคุ้มค่า เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ให้ถึงชุมชนชาวชุมพรเป็นหลัก และลดความเหลื่อมล้ำให้กับองค์กรต่างๆ
ให้มากที่สุด โดยมองถึงความคุ้มค่าของการจัดงานกิจกรรมที่ทำในพื้นที่นั้นๆ ส่งผลต่อรายได้ให้กับจังหวัดและประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด
และกระจายรายได้ไปถึงชุมชนท้องถิ่นให้มากที่สุด รวมทั้งสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องในการท่องเที่ยวในจังหวัดชุมพร
คณะทำงานของสำนักงานท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
จังหวัดชุมพร – ระนองได้ทำงานโดยมีหลักการ ความรู้ ทางวิชาการที่รำเรียนมาและสั่งสม
ประสบการณ์จากรุ่นพี่ ผู้บริหารองค์กรและพี่ๆภาคเอกชนทั้งระดับจังหวัดจนถึงระดับประเทศที่เกี่ยวข้อง
ที่คลุกคลีวงการท่องเที่ยว มาโดยตลอด หลังจากจบปริญญาโท มากว่า 25 ปี
คิดด้วยความเป็นธรรม และเหตุผลค่ะ ไม่เคยทิ้งกิจกรรมใดๆ
หากอยู่ในปฎิทินท่องเที่ยวแล้วก็ยังคงอยู่ เพราะเรายึดนโยบายรัฐบาล ท่านรัฐมนตรี
กระทรวงการท่องเที่ยวฯ และผู้บริหาร ททท ที่ว่า สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้อัตลักษณ์
ยั่งยืน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าในเงินที่จ่ายไป
กับรายได้ที่เกิดขึ้นกับพี่น้องที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวค่ะ ภารกิจบางอย่าง
ไม่จำเป็นจะต้องเป็นการท่องเที่ยว ลักษณะ Mass หรือการท่องเที่ยวสำหรับคนกลุ่มใหญ่มาก
แต่เป็น Nich หรือการท่องเที่ยวที่สนใจเฉพาะกลุ่มเท่านั้น การขี่ช้างจับตั๊กแตนคุ้มค่าหรือไม่
วิเคราะห์ดูทีฤา เป็นมุมมองของนักพัฒนายุค ของประเทศไทย 4.0 ต่อไป
ธนากร โกศลเมธี รายงาน / ชุมพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น