การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
(อุทกภัย วาตภัย
ดินโคลนถล่ม)การฝึกบนโต๊ะ Table Top Exercise : TTX
ในรูปแบบการฝึกเชิงอภิปราย ใน วันพุธที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๐
นายณรงค์
พลละเอียดผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร มาเป็นประธานในพิธีการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ และเข้ารวมเสวนาการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ (อุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม)
ในรูปแบบการฝึกเชิงอภิปราย โดยมีนายณรงค์ พลละเอียด
ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย พล.ต.ฐิติ ติตถะสิริ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่
44, พล.ต.ต.สนธิชัย อาวัฒนกุลเทพ
ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน มูลนิธิ อาสาสมัคร และประชาชน เข้าร่วมประชุมซักซ้อมแผนในครั้งนี้ ณ
โรงแรมนานาบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ หัวหน้าสานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร
เปิดเผยว่า ฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด ประจาปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๐ ขอขอบพระคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรเป็นอย่างสูง
ที่กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ (อุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม)
ในรูปแบบการฝึกเชิงอภิปราย ในวันนี้
ปัจจุบันสถานการณ์ด้านสาธารณภัยได้เปลี่ยนแปลงไปโดยมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น
รวมทั้งระดับความรุนแรงเกินกว่าที่หน่วยงานเพียงหน่วยเดียวจะมีขีดความสามารถในการป้องกันและบรรเทาภัยที่เกิดขึ้นได้
ดังนั้นการบริหารจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้น อันประกอบด้วย ระบบแจ้งเตือนภัย
การบัญชาการเหตุการณ์ที่มีเอกภาพ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามแผนและการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของหน่วยงาน
รองรับงานป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งแต่ในภาวะปกติจนถึงขั้นสถานการณ์ฉุกเฉิน
ต้องมีความพร้อมและดาเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
จังหวัดชุมพร จึงได้กำหนดการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ (อุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม)
โดยดาเนินการฝึกซ้อมเชิงอภิปราย
ประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) และการฝึกบนโต๊ะ (Table Top Exercise : TTX) โดยมีวัตถุประสงค์
ดังนี้
ประการแรก
เพื่อสร้างความมั่นใจและลดความสูญเสียในชีวิติและทรัพย์สินของประชาชน
ประการที่ ๒
เพื่อซักซ้อมระบบการบัญชาการเหตุการณ์ร่วมระหว่างหน่วยงานต่างๆ เมื่อเกิดสาธารณภัย
ให้สามารถวางแผนบูระณาการเครื่องมือ กาลังพลและทรัพยากรอื่นๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประการที่ ๓ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน มูลนิธิ อาสาสมัคร มีความเข้าใจหลักการ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติ
สามารถจัดการภัยได้อย่างทันท่วงที
การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัดในครั้งนี้
มีผู้ร่วมฝึกฯประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนราชการ อำเภอ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน มูลนิธิ อาสาสมัคร รวม ๑๕๐ คน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น