นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ชุมพร - เวที "ตนชุมพรไม่ทอดทิ้งกัน" ครั้งที่ ๒ (ธรรมนูญพื้นที่)


ชุมพร - เวที "ตนชุมพรไม่ทอดทิ้งกัน" ครั้งที่ ๒ (ธรรมนูญพื้นที่)

วันที่ ๒๕ -๒๖สิงหาคม ๒๕๖  นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรมาเป็นประธาน เปิด- เวที "ตนชุมพรไม่ทอดทิ้งกัน" ครั้งที่ ๒ (ธรรมนูญพื้นที่)พร้อมท่านหัวหน้าส่วนราชการทุกท่าน ผู้แทนภาคี เครือข่ายต่างๆในพื้นที่สื่อมวลชนและประชาชนตนชุมพร เข้าร่วมรับฟัง   ห้องประชุมโรงแรมชุมพร การ์เด้นท์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
    






    นางเบญจา รัตนมณี เปิดเผยว่า เป็นผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดชุมพร หรือศูนย์ประสานงานจิตอาสาประชารัฐจังหวัดชุมพรเป็นหน่วยงานภาคประชาสังคมที่ได้ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่๑เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรภาคีจากส่วนกลางประกอบด้วย  ๑) สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ(สปพส.) ๒สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา(LDI) ๓) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และมีการจดจัดตั้งทะเบียนถูกต้องกับ อำเภอเมืองชุมพรในนาม "สมาคมสานพลังประชารัฐจังหวัดชุมพร" โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เป็นกลไกกลางในการประสานเชิงยุทธศาสตร์ของเครือข่ายพหุภาคีทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ๒) ประสานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้มีจิตอาสาทุกภาคส่วน ๓)สนับสนุนการ ดำเนินงานของเครือข่ายพลเมืองจิตอาสาจังหวัดชุมพร  ๔)คันหากลุ่มประชากรที่อยู่ ในภาวะยากลำบากกลุ่มเปราะบาง และให้การช่วยเหลือเบื้องตัน ๕) พัฒนาระบบเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติที่มีปัญหาซ้ำซาก และให้ความช่วยเหลือ เบื้องต้น  ๖)พัฒนาระบบและกลไก "กองทุนพัฒนาสังคมจังหวัดชุมพร" ในการให้ การช่วยเหลือกลุ่มผู้ยากลำบากกลุ่มเปราะบางกลุ่มประสบภัยพิบัติในส่วนที่รัฐเข้าไม่ถึง หรือประสบเหตุเร่งด่วนเบื้องตันพร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดซึ่งมีการดำเนินการช่วยพัฒนาจังหวัดชุมพรมาตลอดระยะเวลา ๖ปี มีการบูรณาการงาน กับภาคส่วนต่างๆ เช่น ภาครัฐร่วมกับ พัฒนาชุมชนสำนักงานจังหวัดชุมพรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทำเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนเมื่อปี ๕๘ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชุมพรในการ ขับเคลื่อนช่วยเหลือกลุ่มคนยากลำบากกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ที่เข้าไม่ถึงบริการของรัฐโดยมีศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาอำเภอเป็นทีมปฏิบัติการร่วมกับองค์กร หน่วยงานส่วนกลางเช่นสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา(LDI)ทำเรื่อง การจัดการภัยพิบัติร่มกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติทำเรื่องธรรมนูญพื้นที่ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของานในวันนี้โดยมีเป้าหมายการจัดทำธรรมนูญตำบลปี๒๕๖๖นี้ รวมทั้งสิ้น ๑๑ตำบลจำแนกเป็นอำเภอละ ๑ ตำบลรวม๕อำเภอ  ๕ตำบล ได้แก่ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว  ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี  ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก ตำบลบางมะพร้าวอำเภอหลังสวนและตำบลละแมอำเภอละแม) และอำเภอ ละ๒ ตำบลรวม๓อำเภอ  ๖ตำบลได้แก่ตำบลบางลึกตำบลวังไผ่ อำเภอเมืองชุมพร ตำบลสลุย  ตำบลสองพี่น้องอำเภอทำแซะ  ตำบลปังหวาน ตำบลปากทรงอำเภอพะโต๊ะ)และมีตำบลที่เข้าร่วมเพิ่มเติมจำนวน ๓ ตำบล ได้แก่ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองซมพร ตำบลทะเลทรัพย์อำเภอปะทิว ตำบลทุ่งหลวงอำเภอละแม และ จากการดำเนินการ ๖ เดือนมีตำบลที่สามารถประกาศใช้ธรรมนูญตำบล จำนวน ๕ ตำบล ได้แก่ ตำบลปากทรงตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ ตำบลสลุย ตำบลสองพี่น้อง อำเภอทำแซะและตำบลถ้ำสิงห์อำเภอเมืองชุมพร ส่วนที่เหลือที่กำลังรอเวที












           นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์   เผย  ตามที่ ผู้ประสานศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดชุมพร หรือศูนย์ ประสานงานจิตอาสาประชารัฐจังหวัดชุมพร ได้กล่าวรายงานถึงภารกิจที่ดำเนินการ ช่วยพัฒนาจังหวัดชุมพรในนามภาคประชาสังคม มาตลอดระยะเวลา ๖ ปี ผมขอชื่นชมคนทำงานพื้นที่ทุกคนทุกองศ์กร โดยเฉพาะศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดชุมพร ที่ขับเคลื่อนงานด้านสังคม และมีการบูรณาการงาน กับภาคส่วนต่างๆ เช่น ภาครัฐ ร่วมกับ พัฒนาชุมชน สำนักงานจังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทำเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนเมื่อปี ๕๘ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชุมพร ในการขับเคลื่อนช่วยเหลือกลุ่มคนยากลำบาก กลุ่มเปราะบางในพื้นที่ที่เข้าไม่ถึงบริการของรัฐ โดยมีศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาอำเภอ เป็นทีม ปฏิบัติการ ร่วมกับ หน่วยงานส่วนกลาง เช่น สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาทำเรื่อง การจัดการภัยพิบัติ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ทำเรื่องธรรมนูญพื้นที่ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของานในวันนี้ พวกเราคงรับทราบ เช่นกันว่า การทำธรรมนูญของศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดชุมพร ที่มีระยะเวลา ๖ เดือน แค่สามารถทำให้ ๕ ตำบลของจังหวัดชุมพร สามารถประกาศใช้ธรรมนูญได้แต่ส่วนที่ทำแล้วจะนำไปใช้ได้จริงได้หรือเปล่า เราก็ต้องติดตามดูกัน ส่วนที่เหลืออีกตำบลที่กำลังจะประกาศใช้ และอีกหลายตำบลที่กำลังจะจัดทำร่าง ธรรมนูญ ก็ ต้องขออวยพรให้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงในโอกาสนี้ ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วน ทุกเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่ ที่มี ส่วนร่วมให้เกิดเวทีขึ้นในครั้งนี้ ขอชื่นชมหุ้นส่วนที่ร่วมขับเคลื่อนจนเกิดธรรมนูญพื้นที่ เพื่อนำมาซึ่งชุมชนน่าอยู่ และหวังว่าในโอกาสต่อจากนี้ ทุกตำบลในพื้นที่ จังหวัดชุมพรจะมีการนำธรรมนูญมาใช้ครบทุกตำบล นำสู่เมืองชุมพรน่าอยู่ ขออวย พรให้การจัดเวทีในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ














ธนากร โกศลเมธี รายงานจังหวัดชุมพร 0818923514




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง

   ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เปิดศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดอาภากร...