ชุมพร - ติดตามความคืบหน้ากรณีของอาคารอัดน้ำคลองแพรกช้างแหก
ชำรุดใช้งานไม่ได้
วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 เวลา 14.00น. ทีมผู้สื่อข่าวลงพื้นที่
โครงการก่อสร้างสำนักชลประทานที่ 14 เลขที่ 49 หมู่ที่ 5 ตำบลขุนกระทิง
อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ได้พบกับนายสายัณห์ บุญญานุสนธิ์
ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักชลประธาน ทีมสื่อได้เข้าสัมภาษณ์ท่าน ผอ.ถึงการดำเนินการก่อสร้างของ
โครงการชลประทานขนาดเล็กอาคารอัดน้ำคลองแพรกช้างแหก และยังถามถึงเหตุการที่ทำให้เกิดการชำรุดของอาคารอัดน้ำคลองแพรกช้างแหก
จนใช้งานไม่ได้ ทำให้มีประชาชนเดือดร้อนกว่า400ครัวเรือนมีจำนวนนับ
1000 คน ที่ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ในการเกษตรกรโดยส่วนใหญ่เป็นชาวสวนทุเรียน
จึงต้องการที่จะใช้น้ำเป็นจำนวนมาก และเสร็จจากสัมภาษณ์ นายสายัณห์ บุญญานุสนธิ์
ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักชลประธาน ทีมสื่อได้เดินทางไปที่เทศบาลตำบลวังใหม่เข้าสัมภาษณ์ท่านนายพรศักดิ์
พิมาน นายกเทศมนตรีตำบลวังใหม่ ถึงความเดือดร้อนของชาวบ้าน ม.2 ม.4
ม.5 ตำบลวังใหม่ที่ไม่มีน้ำใช้จำนวน 400 ครัวเรือน นับ1000คน แล้วสอบถามถึงการว่างแผนในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในช่วงหน้าแล้งนี้อย่างไรบ้าง
นายสายัณห์
บุญญานุสนธิ์ เปิดเผยว่า รับรายงานจากการก่อสร้างอาคารอัดน้ำคลองแพรกช้างแหก
ทีเกิดชำรุดในโครงการชลประทานขนาดเล็กอาคารอัดน้ำคลองแพรกช้างแหก
ที่รัฐบาลสร้างให้ราษฎร โดยใช้งบประมาณปี พ.ศ. 2560 เพื่อใช้ประโยชน์
และดูแลบำรุงรักษาร่วมกัน กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในกรณีที่กำลังสร้างอยู่นั้นยังไม่สำเร็จ 100% ในช่วงเดือนมิถุนายน2561เกิดอุทกภัยใหญ่ในเขตจังหวัดชุมพรทำให้อาคารอัดน้ำคลองแพรกช้างแหก
ชำรุดเสียหายใช้งานไม่ได้ และได้ของบซ่อมแซมไป แต่ยังไม่ได้รับงบประมาณ
แต่ได้รับทราบถึงความเดือดร้อนของประชาชน จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าดูแลซ่อมแซมเบื้องต้นให้ประชาชนตำบลวังใหม่ได้มีน้ำใช้ช่วงหน้าแล้งนี้
คาดกว่าจะเข้าดำเนินการภายในต้นเดือนสิงหาคม 2562 นี้
นายพรศักดิ์
พิมาน เผย ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากการชำรุดของอาคารอัดน้ำคลองแพรกช้างแหกที่สร้างเสร็จแล้วแต่ไม่ได้ใช้งานมานาน
เกิดการชำรุดใช้งานไม่ได้ชาวบ้านที่รับความเดือดร้อนกว่า 400 ครัวเรือน
นับ 1000 คน จึงได้วอนขอต่อสื่อ
ที่ได้รับความเดือดร้อนในการจัดสร้างโครงการชลประทานขนาดเล็กอาคารอัดน้ำคลองแพรกช้างแหก
ที่ได้ก่อสร้างมาเมื่อไม่นานระยะเกือบ 2
ปีแล้วปัจจุบันนี้การดำเนินการก่อสร้างได้แล้วเสร็จไปนานแล้ว แต่ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์จากการก่อสร้างเลยเนื่องจากอาคารดังกล่าวไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เลย
และก่อนที่จะก่อสร้างประชาชนยังได้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำบริเวณดังกล่าวได้ แต่เมื่อมีการก่อสร้างมาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีน้ำกักเก็บ ในอาคารดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า งบประมานในการดำเนินการก่อสร้าง
เท่ากับสูญเปล่า ไม่มีการดำเนินการติดตามผล
และซ่อมแซมแก้ไขเพื่อให้มีการเก็บกักน้ำ และได้ใช้ประโยชน์จากการทำโครงการดังกล่าว
ธนากร โกศลเมธี รายงานจังหวัดชุมพร 0818923514
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น