ชุมพร - ผู้ว่าฯชุมพร ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์ดินทรุดตัว
พร้อมสั่งให้ซ่อมแซม โดยเร่งด่วน
วันที่ 7 มกราคม 2562 เวลา09.30 น นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย พ.ต.อ.ภคพล ทวิชศรี รอง ผบก.ภ.จว.ชพ. นายนักรบ
ณ ถลาง นายอำเภอเมืองชุมพร ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์ดินทรุดตัว ขนาดกว้าง 5
เมตร
ยาว 7 เมตร ลึก 5 เมตร บริเวณริมถนน ม.1 ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
โดยให้ทางหลวงชนบทชุมพร และองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงห์ให้ดำเนินการซ่อมแซม
โดยเร่งด่วน
โดยบริเวณที่เกิดดินทรุดตัวอยู่ริมถนนสายถ้ำสิงห์
ไป ถนนเอเชีย41 หน้าบ้านนางสุภาภรณ์ สวนชำนิ อายุ 58 ปี เลขที่ 220/1
หมู่
1 อาชีพ ชาวสวน ระหว่างรอยต่อของถนนและผืนดินพบหลุมขนาดใหญ่ กว้าง 5
เมตร
ยาว 7 เมตร ลึก 5เมตร ในหลุมมีผิวยางมะตอย และดินหล่นลงไปจำนวนหนึ่ง ส่วนบนพื้นถนนที่ลาดด้วยแอสฟัลต์
ยังมีรอยแยกของแผ่นดิน นางสุภาภรณ์ เล่าว่า ในช่วงเช้าขณะที่กำลังยืนอยู่หน้าบ้าน
จู่ๆ ได้ยินเสียงดังคล้ายมีของหล่น จึงเดินมาดู พบเห็นแผ่นดินกำลังยุบตัว
จึงรีบแจ้งไปยัง นายนิคม ศิลป์ศร นายก อบต.ถ้ำสิงห์ ทราบเพื่อขอความช่วยเหลือ
ซึ่งจากการตรวจสอบรายละเอียด
ทราบว่า ในช่วงคืนที่ผ่านมาได้มีฝนตกหนักในพื้นที่ ตำบลถ้ำสิงห์ และ
มีฝนตกสะสมมาหลายวัน อาจทำให้ดินในบริเวณดังกล่าวอุ้มน้ำไม่ไหว จนเกิดยุบตัว
อีกทั้ง ในย่านดังกล่าวเป็นพื้นที่ไหล่ภูเขาถ้ำสิงห์
มีการขุดบ่อเพื่อเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ จำนวนมาก มีการขุดน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เพื่อการเกษตร
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของดินทรุดตัวในครั้งนี้
โดยในขณะนี้ทางจังหวัดชุมพรได้ทราบเรื่องดังกล่าว
และได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการ ซ่อมแซม โดยเร่งด่วน
นายนิคม ศิลปศรนายกองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงห์
เผย เหตุดังกล่าวเกิดจากแผ่นดินได้รับปริมาณน้ำฝนจำนวนมาก ซึ่งวัดปริมาณจำนวนน้ำฝนได้
194 มม.จึงอุ้มน้ำไว้เป็นจำนวนมากจึงเกิดเหตุการณ์ดินทรุดตัว และได้รับคำสั่งจากนายวิบูลย์
รัตนาภรณ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายนักรบ ณ ถลาง นายอำเภอเมืองชุมพร
ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์ดินทรุดตัว โดยให้ทางหลวงชนบทชุมพร
และองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงห์ให้ดำเนินการซ่อมแซม โดยเร่งด่วน และในวิกฤตครั้งนี้
จะทำให้เป็นโอกาสที่ดี มีแนวทางคิดที่จะแก้ไขปัญหา ตามโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน
โดยที่หลุมจากดินทรุดตัวที่มีขนาด ลึก 5เมตร กว้าง 7 เมตร จะทำเป็นที่เก็บน้ำเรียกว่าธนาคารน้ำใต้ดิน
โดยจะใช้หินขนาดใหญ่เทลงไปในหลุมก่อนแล้วปรับพื้นที่ให้เรียบร้อย
ตรงนี้ก็จะเป็นที่เก็บน้ำได้ เรียกว่าการแก้ปัญหาโดยใช้
วิกฤตให้เป็นโอกาส ถ้าทุกที่ทำได้ ก็จะเป็นธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นดินในบริเวณนั้นๆ
ถ้าคิดจะสร้างธนาคารน้ำใต้ดินที่มีขนาด ลึก5เมตร กวาง 7 เมตร ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการขุด
แต่วันนี้ธรรมชาติเขาขุดให้ ผมก็จะทำเป็นธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงห์ต่อไป
ธนากร โกศลเมธี ศูนย์ข่าว ชุมพร 0818923514
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น