นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ชุมพร - สภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร เร่งขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาหลายด้านให้เกษตรกร

 

ชุมพร - สภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร เร่งขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาหลายด้านให้เกษตรกร



เมื่อเวลา 09.00 น วันที่ 18 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม เกาะทองหลางชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร นายธีรศักดิ์ ยมสวัสดิ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร พร้อมด้วยสมาชิกสภาเกษตรกรทุกเขตเลือกตั้ง และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมประชุมเพื่อติดตามแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรในจังหวัด ตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ .พ.ศ 2553 ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองรักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับการผลิตและการตลาด โดยสภาเกษตรกรได้ร่วมแก้ปัญหา ด้านต่างๆ เช่นด้านพืช ด้านปศุสัตว์และด้านประมง


นอกจากนี้ได้ติดตามความคืบหน้าประสานงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  ในการขยายเขตระบบไฟฟ้า โดยได้นำเสนอเกษตรแปลงใหญ่จำนวนหลายแปลง เพื่อให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้าดำเนินการเปลี่ยน ระบบไฟฟ้าจาก 2 เฟสเป็น 3 เฟส ใช้ในการ ปั๊มน้ำเพื่อการเกษตร การแก้ไขปัญหาราคาสุกรตกต่ำ  ที่เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 ได้ส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ที่มีปัญหา ราคาตกต่ำ




ซึ่งสภาเกษตรกรจังหวัดได้  หยิบยกการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ขึ้นมาพิจารณา  นำเสนอเชิงนโยบายพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติและมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์และการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจังหวัดชุมพรมีพื้นที่ทั้งหมด 3,750,000 ไร่มีพื้นที่ทำการเกษตรกรรม 2,215,000 ไร่  คิดเป็นร้อยละ 56.61 ของพื้นที่ทั้งหมด ประชาชนร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มูลค่าการผลิตภาคการเกษตรสูงสุดมาจากพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ 5 ชนิดได้แก่ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน กาแฟ มะพร้าว มีพื้นที่ปลูกกาแฟโรบัสต้ามากที่สุดในประเทศ มีการปลูกทุเรียนมากเป็นอันดับ 2 รองจากจังหวัดจันทบุรี แต่ที่ผ่านมา ได้เกิดความเสียหาย จากปัญหาภัยแล้ง




โดยสมาชิกสภาเกษตรกรทั้ง 8 อำเภอได้รับการสะท้อนข้อมูลว่า ถึงแม้ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกชุกแตกเกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำ และการสร้างแหล่งน้ำประจำแปลงเกษตรกร ของตนเอง  นอกจากนี้ยังมีภาวะน้ำท่วมน้ำป่าไหลหลากแต่ไม่มีที่เก็บกักน้ำไว้ใช้ ทำให้เกิดภาวะน้ำแล้งขาดแคลนน้ำ อีกทั้งแหล่งเก็บกักน้ำ เช่น ฝายน้ำล้น อ่างเก็บน้ำ ลำคลอง สระน้ำ บ่อน้ำบาดาลมีเป็นจำนวนน้อยไม่ครอบคลุมพื้นที่ บางแห่งมีลักษณะตื้นเขิน ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ



หลังจากนั้นได้มีการ แต่งตั้งที่ปรึกษาสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร มีการจัดตั้งคณะทำงานบริหารกิจการสภาเกษตรกรจังหวัด  แต่งตั้งคณะทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพัฒนาแหล่งน้ำดินและระบบชลประทานเพื่อเกษตรกรรม แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผล แต่งตั้งคณะทำงานด้านพืชไร่พืชสวนและพืชพลังงาน แต่งตั้งคณะทำงานด้านประมงและปศุสัตว์




นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีการหยิบยกการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ เช่น อยู่อาศัยในพื้นที่ป่า พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์ และที่สาธารณะอื่นๆ ที่ ราชการยังไม่ออกเอกสารสิทธิ์ให้กับเกษตรกร ทำให้เสียโอกาสในการพัฒนาด้านเกษตรกรรม อีกทั้งยังเสียสิทธิต่างๆที่รัฐให้การสนับสนุนไม่ได้ โดยหลังจากนี้คณะทำงานชุดต่างๆที่ไดรับการแต่งตั้งขึ้นในครั้งนี้ จะดำเนินการจัดประชุม เพื่อนำปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ มาพิจารณาวางแนวทางการแก้ไข เสนอต่อสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพรดำเนินการ ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

 ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง หลายฝ่ายเข้าสำรวจแหล่งน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจา...