รอง กรรมาธิการ ป.ป.ช. (ส.ส.ภูเก็ต) พรรคพลังประชารัฐ เป็นตัวแทนรัฐบาลไทย เข้าร่วมประชุม สมัชชาใหญ่ ต่อต้านการทุจริตอาเซี่ยน(SEA PAC )
จากกรณีที่มีการประชุมประจำปีและการประชุมสมัชชาใหญ่ของกลุ่มสมาชิกรัฐสภาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการต่อต้านการทุจริต (SEAPAC Conference and General Assembly) ระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย SEA PAC เป็นกลุ่มความร่วมมือของหน่วยงานต่อต้านการทุจริตของประเทศสมาชิกอาเซียน
นายสุทา ประทีป ณ ถลาง รองกรรมาธิการ ปปช.สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต พรรคพลังประชารัฐ ใด้เปิดเผยต่อสื่อว่า ในปี 2566 ประเทศอินโดนิเซีย ใด้ จัดประชุม การต่อต้าน การทุจริต ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจและเป็นความท้าทายของภูมิภาคนี้โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะองค์กรหลักในประเทศ ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตซึ่งปีนี้ ทางรัฐบาลไทยใด้มอบหมายให้ ตน ซึ่งเป็น ส.ส.เพียง1 เดียว ของตัวแทนรัฐบาลของประเทศไทย เป็นผู้นำคณะเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงวันที่25-28 กุมภาพันธ์2566 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนิเซีย เป็นการประชุมครั้งที่ 20 โดยมีผู้นำของหน่วยงานต่อต้านการทุจริตจากประเทศอาเซียน กว่า 10 ประเทศเข้าร่วมการประชุม ซึ่งการประชุมครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนากลไกการต่อต้านการทุจริต การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม และยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริตหรือ CPI ของประเทศในอาเซียน เป็นกลุ่มความร่วมมือของหน่วยงานต่อต้านการทุจริต ซึ่งจะจัดการประชุมเป็นประจำทุกปี เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีในการต่อต้านการทุจริต การพัฒนาด้านวิชาการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาการทุจริตที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ตลอดจนการสร้างความร่วมมือในการประสานงานคดีทุจริตระหว่างประเทศ นอกจากนั้น การประชุมนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่สมาชิกจะได้หารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อร่วมกันยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต ที่สะท้อนภาพลักษณ์การทุจริตคอร์รัปชันของประเทศต่างๆ ที่มีการจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปีให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีของภูมิภาคอาเซียนในมุมมองของนักลงทุนต่างชาติ ที่ผ่านมา
สส.ภูเก็ต ยังกล่าวต่ออีกด้วยว่า ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในกรอบการประชุมดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะการผลักดันการยกระดับให้กลายเป็นองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน ซึ่งจะทำให้การต่อต้านการทุจริต เป็นประเด็นที่ผู้นำอาเซียนทุกประเทศต้องหันมาให้ความสำคัญและร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังเพื่อทำให้ภูมิภาคนี้ปราศจากการทุจริต อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจ และการค้าการลงทุนอย่างยั่งยืน ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ อีกทั้ง ยังเป็นการแสดงบทบาทเชิงรุกของไทยในการต่อสู้กับปัญหาการทุจริตระหว่างประเทศ รวมทั้งจะนำไปสู่การผลักดันนโยบายและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานของอาเซียนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อให้ตอบสนองต่อแนวคิด อย่างแท้จริง .
นายสมชาย สังข์สนธ์ รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดภูเก็ต