ชุมพร - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร
มอบนโยบายและติดตามการดำเนินงานในพื้นที่
วันที่ 22 ธันวาคม 2562 ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชุมพร
มอบนโยบายและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ
ห้องประชุมโรงเรียนมันตานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยมีนายสนิท ศรีวิหค
รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และข้าราชการครู นักเรียน นักศึกษา และประชาชน
ให้การต้อนรับ ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับฟังปัญหา
และความต้องการของบุคลากรด้านการศึกษา เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ
พร้อมกับแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน
โดยมุ่งเน้นในการยกระดับความสามารถของบุคลากรด้านการศึกษาในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น
สำหรับจังหวัดชุมพร
มีการจัดการศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบ
ดังนี้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1จำนวน 113
แห่ง,
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร
เขต 2จำนวน 119 แห่ง, โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11
(สุราษฎร์ธานี-ชุมพร)
จำนวน 26 แห่ง, โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจำนวน 24
แห่ง,
สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
จำนวน 6 แห่ง, มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วิทยาเขตชุมพร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชุมพร,
และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.อำเภอ) จำนวน 8 แห่ง โดยหน่วยงานและสถานศึกษาในจังหวัดชุมพร ได้ร่วมมือกันในการจัดการศึกษาในจังหวัดชุมพร
ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ชาวจังหวัดชุมพร
ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในการลงพื้นที่ครั้งนี้
เพื่อมามอบนโยบายและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ของสำนักงาน
กศน.จังหวัดชุมพรและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดชุมพร
และติดตามการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชุมพร ซึ่งจังหวัดชุมพร ทั้งผู้บริหาร
และบุคลากรด้านการศึกษา ได้ช่วยกันในการขับเคลื่อนงานตามนโยบาย
เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายนักเรียน นักศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน
และประชาชนทั่วไป เกิดกระบวนการการจัดการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาคนในชุมชน
ในรูปแบบของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ที่ประชาชนสามารถเข้ารับบริการได้ตามความต้องการ และความพร้อมของตนเอง
ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษา ที่ก่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษาในทุกพื้นที่
ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามนโยบายและจุดเน้นของสำนังงาน กศน.ที่สำคัญ คือ
การประสานงานกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายระดับต่างๆ
เพื่อร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ประชาชนในชุมชนให้มีความกว้างขวางและหลากหลายมากขึ้น
ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ที่เกิดต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นความสำเร็จของการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงาน
กศน. โดยทางกระทรวงศึกษาธิการพร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวจังหวัดชุมพร 0818923514
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น