นายศรีชัย วีระนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ พนักงา

นายศรีชัย วีระนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ พนักงา
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ชุมพร - ประชุมโครงการงานออกแบบขยายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และองค์ประกอบอื่น ๆ และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ท่าอากาศยานชุมพร

 ชุมพร - ประชุมโครงการงานออกแบบขยายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และองค์ประกอบอื่น ๆ และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ท่าอากาศยานชุมพร

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ณ ศาลาประชาคมอำเภอปะทิว ที่ว่าการอำเภอปะทิว ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร นายเจริญโชค พรหมชุติมา นายอำเภอปะทิวมาเป็นประธานในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (การประชุมกลุ่มย่อย) โครงการงานออกแบบขยายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และองค์ประกอบอื่น ๆ  และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ท่าอากาศยานชุมพร  ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 1 แห่ง



       นายอัมพร ภักดี ผู้อำนวยการท่าอากาศยานชุมพร กล่าวว่าปัจจุบันท่าอากาศยานชุมพร ยังไม่สามารถรองรับอากาศยานขนาด 300 ที่นั่ง ซึ่งสายการบินระหว่างประเทศส่วนใหญ่ให้บริการได้ กรมท่าอากาศยาน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาท่าอากาศยาน ขยายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และองค์ประกอบต่าง ๆ


ที่เหมาะสมตามมาตรฐาน และเพื่อรองรับนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่มีแนวคิดจะพัฒนาท่าเรือจังหวัดชุมพรให้เป็นสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย (Land bridge)ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการขยายขีดความสามารถการพัฒนาทางเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้สู่เศรษฐกิจโลก ดังนั้นกรมท่าอากาศยานจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้เพียงพอต่อความต้องการการใช้บริการสนามบินในอนาคต ทั้งนี้จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า การปรับปรุงขยายความยาวทางวิ่งจากเดิม 2,100 เป็น 2,990 เมตร และส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2562 กำหนดว่า โครงการระบบขนส่ง ทางอากาศ เฉพาะการก่อสร้าง หรือขยายสนามบิน หรือทางขึ้นลงชั่วคราว ของเครื่องบินพาณิชย์ ที่มีขนาดความยาวของทางวิ่งตั้งแต่ 1,100 เมตรขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3,000 เมตรจะต้องดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อให้การพัฒนาโครงการเกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่โครงการน้อยที่สุด ในการดำเนินงานดังกล่าว กรมท่าอากาศยานได้ตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยได้กำหนดให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการศึกษาโครงการ ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (การประชุมกลุ่มย่อย)มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ โดยเฉพาะรายละเอียดรูปแบบการพัฒนาโครงการ ข้อมูลความเป็นมาโครงการ วัตถุประสงค์ ขอบเขต แนวทางการศึกษาของโครงการ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบอีกทั้งยังรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อจำกัดของพื้นที่ ความต้องการ สภาพปัญหา ข้อวิตกกังวล และข้อเสนอแนะในการศึกษาโครงการ จากกลุ่มเป้าหมายและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ รวมทั้งการขอความร่วมมือจากบุคคลฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการศึกษาโครงการขั้นตอนต่อไป

นายเจริญโชค พรหมชุติมา เปิดเผยว่าทราบถึงเหตุผลความจำเป็นของโครงการซึ่งกรมท่าอากาศยานมีแผนงานก่อสร้างเพื่อขยายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบินและส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามมาตรฐานและเพื่อรองรับนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่มีแนวคิดจะพัฒนาท่าเรือจังหวัดชุมพรให้เป็นสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและ
อ่าวไทย (Land bridge)ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการขยายขีดความสามารถการพัฒนาทางเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้สู่เศรษฐกิจโลกแม้ว่าการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวของท่าอากาศยานชุมพรที่จะปรุบปรุงส่วนต่างๆ ภายในพื้นที่ของท่าอากาศยานเองก็ตาม แต่ก็ติดระเบียบของทางราชการที่ต้องมีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ดังนั้น การจัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในวันนี้ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะตอบสนองความต้องการของทุกภาคส่วนในพื้นที่ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีโอกาสในการมีส่วนร่วมต่อโครงการ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อโครงการ เพื่อจะได้นำข้อคิดเห็นดังกล่าว มาปรับปรุงโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด จึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อการดำเนินโครงการ ผมจึงใคร่ขอเชิญชวนให้ทุกท่านที่สละเวลามาร่วมประชุมครั้งนี้ ได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นและข้อกังวลที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชน สังคม และท้องถิ่นของเรา เพื่อให้ทางบริษัทที่ปรึกษาได้หาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป

ธนากร โกศลเมธีรายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - โครงกระดูกหญิง นิรนาม ชุด ออกกำลังกายหรู โผล่ ฟ้อง คาดถูกฆ่า นานนับเดือน พม่าตัดหญ้าพบเผ่น ขวัญผวา

 ชุมพร - โครงกระดูกหญิง นิรนาม ชุด ออกกำลังกายหรู โผล่ ฟ้อง คาดถูกฆ่า นานนับเดือน พม่าตัดหญ้าพบเผ่น ขวัญผวา แรงงานพม่าตัดหญ้าใสสวนเจอเชือกสี...