นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

หนี้สาธารณะ = ภาระของทุกคน

 หนี้สาธารณะ = ภาระของทุกคน



หนี้สาธารณะเป็นเรื่องใกล้ตัว ความจริงเป็นภาระที่ทุกคนต้องชดใช้ในที่สุด ไม่ว่าคนรุ่นเราหรือรุ่นถัดๆ ไป จึงเป็นเรื่องที่ควรรู้จักและเข้าใจ  


เมื่อรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงจําเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่าย รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั้งที่พัฒนาแล้ว และกําลังพัฒนาต่างก็มีหนี้สาธารณะอยู่ในจํานวนแตกต่างกันไป


ตอนนี้ หลายฝ่ายกังวลเรื่องตัวเลขหนี้สาธารณะว่าไทยจะเกิด “วิกฤตการคลัง” อย่างลาวไหม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วง  แต่ต้องบอกว่าแตกต่างกันหลายปัจจัย


1. หนี้สาธารณะของลาวส่วนใหญ่เป็นหนี้ต่างประเทศ

        หนี้สาธารณะของลาวอยู่ที่ 72% ของ GDP ส่วนใหญ่เป็นหนี้ต่างประเทศ ซึ่งมีจีนเป็นเจ้าหนี้ถึง 47% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ส่วนใหญ่กู้มาเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน โรงไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง

         ส่วนหนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ 60.87% ของ GDP และส่วนใหญ่เป็นหนี้ในประเทศ เป็นหนี้ต่างประเทศเพียง 174,666.23 ล้านบาท นับเป็น 1.96% ของหนี้สาธารณะทั้งหมดเท่านั้น ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินของต่างชาติมากนัก


2. ลาวมีเงินสำรองระหว่างประเทศน้อยมาก

      เงินสำรองระหว่างประเทศ คือเงินตราและสินทรัพย์สกุลต่างประเทศที่ถือครองโดยธนาคารกลางไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านต่างประเทศในกรณีเกิดเงินทุนไหลออกจำนวนมาก หรือตลาดเงินขาดสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศเฉียบพลัน  เงินสำรองระหว่างประเทศที่เพียงพอจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศและนักลงทุน  

       ลาวมีเงินสำรองระหว่างประเทศเพียง 1,262.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น แต่มีหนี้ต่างประเทศที่ครบกำหนดชำระร่วม 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 สูงถึง 260,002.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเท่ากับ 8,889,237.96 ล้านบาท  มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นถึง 4.4 เท่า สะท้อนถึงสถานะด้านต่างประเทศของไทยที่แข็งแกร่ง


3. ขาดดุลแฝด (twin deficits)

        ภาวะขาดดุลแฝด คือ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (รายได้น้อยกว่ารายจ่ายจากภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศ) และขาดดุลการคลัง (รัฐบาลมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย) พร้อมกัน

        ลาวประสบภาวะขาดดุลแฝดมานาน เศรษฐกิจลาวมีรายจ่ายจากการนำเข้ามากกว่ารายได้จากการส่งออก เมื่อสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ย เงินดอลลาร์สหรัฐจึงแข็งค่า และเงินกีบจึงอ่อนค่าลง ยิ่งทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงมากขึ้น และค่าเงินกีบที่อ่อนลงยังซ้ำเติมหนี้สาธารณะที่ส่วนใหญ่เป็นหนี้ต่างประเทศ จึงกลายเป็นภาระหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

         หันมาดูไทยเรา ณ ปัจจุบันใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณ ใน พรบ. งบประมาณ 2566 กำหนดวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 695,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.88% ของ GDP จึงถือว่าขาดดุลการคลัง

         ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเดือนพฤษภาคม 2565 ขาดดุลเท่ากับ 127,874 ล้านบาท จึงเรียกว่ามีภาวะขาดดุลแฝดเช่นกัน เมื่อเจาะดูดุลบัญชีเดินสะพัด จะพบว่า เดือนพฤษภาคม 2565 ไทยยังเกินดุลการค้าเท่ากับ 68,320 ล้านบาท คือ มูลค่าจากการส่งออกสินค้ายังมากกว่ามูลค่าจากการนำเข้าสินค้า แต่ขาดดุลบริการราว 196,194 ล้านบาท ซึ่งหลักๆ เป็นการขาดดุลจากรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่น้อยลงเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19  

           รายงานของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ขยายตัวอยู่ในกรอบ 2.5 – 3.5% โดยระบุดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุล 7,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 266,000 ล้านบาท คิดเป็น 1.5% ของ GDP นั่นหมายความว่า ภาพรวมทั้งปี 2565 ไทยจะประสบภาวะขาดดุลแฝด ที่ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด ปล่อยให้อยู่ในภาวะขาดดุลแฝดนานไปไม่ได้

           ทางออกจากภาวะขาดดุลแฝด ต้องอาศัยนโยบายทางเศรษฐกิจที่จะช่วยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่เห็นแล้วว่าเกิดจากการขาดดุลบริการ จึงต้องเร่งส่งเสริมการภาคการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ  ในขณะเดียวกัน นโยบายทางการคลังจากนี้ไปต้องรัดกุม หลีกเลี่ยงการกู้เงินนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน พรบ. งบประมาณฯ ยิ่งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ภาระดอกเบี้ยจ่ายที่ต้องตั้งงบประมาณรองรับในอนาคตก็สูงตาม จึงควรพิจารณาทางเลือกแหล่งเงินทุนอื่นเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น การร่วมทุนกับภาคเอกชน หรือ การระดมทุนจากตลาดทุนด้วยกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน


อาจารย์แหม่ม

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์

6 กรกฎาคม 2565

ธนากร โกศลเมธีรายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง

   ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เปิดศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดอาภากร...