นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2565

ชุมพร - โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา

 ชุมพร - โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา

วันที่ 19เมษายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ อาคารสนามฟุตซอลเทศบาลตำบลท่ายาง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร นายโชตินริทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิด โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา พร้อมกับนายแพทย์นราพงศ์ ธีรอัครวิภาส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพร นายนพพร อุสิทธิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร นายอำพัน มากอำไพ นายกเทศมนตรี



    นายอำพัน มากอำไพ กล่าว ในนามของชาวตำบลท่ายาง อำเภอเมืองชุมพร ขอต้อนรับมูลนิธิกาญจนบารมี         ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพร และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน กระผมรู้สึกยินดีอย่างยิ่ง ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร และมูลนิธิกาญจนบารมี ได้ให้โอกาสพื้นที่เทศบาลตำบลท่ายางในการเป็นสถานที่จัดกิจกรรม โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม                 โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส          เฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญ          พระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2565 และต้องขอขอบพระคุณที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดในวันนี้

นายแพทย์นราพงศ์ ธีรอัครวิภาส  กล่าวว่า สาเหตุการป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด การป้องกันมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุด คือการตรวจเพื่อค้นหาให้ได้เร็วที่สุด (Early Detection) ซึ่งการตรวจมี 3 วิธีคือ1.การตรวจเต้านมด้วยตนเอง2. การตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ 3. การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม แม้การตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์จะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่การให้บริการยังไม่สามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองนั้นจะสามารถพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรกที่ยังไม่ลุกกลามหรือแพร่กระจายจะลดความรุนแรงของการเป็นมะเร็งเต้านม และสามารถรักษาหายขาดได้ถึงร้อยละ 80 - 90 กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดตัวชี้วัดให้  ร้อยละของสตรีอายุ 30-70ปีมีการตรวจเต้านมด้วยตัวเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว

 

นายโชตินริทร์ เกิดสม เปิดเผยว่า จะเห็นได้ว่าสตรีไทย ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมและเสียชีวิตได้ โรคมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ และที่น่าเป็นห่วงคือ โรคมะเร็งเต้านมที่มีอัตราป่วยและตายสูงขึ้น เพราะมะเร็งเต้านมยังไม่สามารถค้นหาสาเหตุสำคัญได้  โรคมะเร็งเต้านมจึงเป็นโรคร้ายที่เป็นภัยใกล้ตัวสำหรับผู้หญิง นอกจากนี้ยังพบว่ามะเร็งเต้านมสามารถเกิดในผู้ชายได้เช่นกัน แม้จะพบในอัตราที่น้อยมากก็ตามการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การตรวจพบให้เร็วที่สุด ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ผู้หญิงทุกคนจำเป็นต้องตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็น ต้องสังเกตเป็น เพื่อลดความรุนแรงของโรค  และเข้าสู่ระบบการรักษาได้ทันท่วงทีผมขอมอบเป็นนโยบายให้บุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนดำเนินการโครงการฯอย่างต่อเนื่องเป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่ผู้หญิงทุกคนได้เข้าใจอย่างทั่วถึง หากตรวจพบอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์โดยเร็ว ต้องขอบคุณมูลนิธิกาญจนบารมี และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกท่านที่เห็นความสำคัญและให้โอกาสการเข้าถึงบริการแก่ประชาชนและผู้ด้อยโอกาส ขอขอบคุณ ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่สนับสนุน ขอให้การดำเนินโครงการฯจงบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ

ธนากร โกศลเมธีรายงาน

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง

   ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เปิดศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดอาภากร...