นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2565

คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ สภาฯ ลงพื้นตรวจสภาพปัญหากัดเซาะรุนแรงบริเวณชายหาดสร้อยสวรรค์ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา และ หาดปานาเระ ต.ปานาเระ อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี

คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ สภาฯ ลงพื้นตรวจสภาพปัญหากัดเซาะรุนแรงบริเวณชายหาดสร้อยสวรรค์ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา และ หาดปานาเระ ต.ปานาเระ อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี 



วันที่ 18 เมษายน 2565  ส.ส.จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ  เขต 3 จ.สมุทรสาคร พรรคเศรษฐกิจไทย ปฏิบัติหน้าที่กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล เป็นประธาน ไดันำคณะฯลงพื้นที่หาดสร้อยสวรรค์ ต.เทพา  อ.เทพา จ.สงขลา  ตรวจสภาพพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง และรับฟังการบรรยายสรุปจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งอธิบดีกรมเจ้าทำ,อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและขายฝั่ง,อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง และผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา




ทั้งนี้ หาดสร้อยสวรรค์ มีร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง สาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่ง เกิดจากเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำเทพา (Jetty) เขื่อนกันทรายและคลื่นนอกชายฝั่ง ทำให้เกิดการกัดเซาะต่อเนื่องจากโครงสร้างดังกล่าว อีกทั้งโครงสร้างเขื่อนหินทิ้งและกำแพงกันคลื่นชายฝั่งของผู้ประกอบการภาคเอกชนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการกัดเซาะต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดโครงสร้างอีกด้วย ซึ่งกรมเจ้าท่าได้สำรวจข้อมูลทำโครงการไว้แล้วแต่ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เนื่องจากมีปัญหาอุปสรรคเรื่องพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา จึงมอบหมายให้นายอำเภอเทพา เประสานงานกับองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ในพื้นที่แล้วเสนอเรื่องไปยังจังหวัดสงขลา เพื่อประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในส่วนของคณะกรรมาธิการฯ จะสรุปการตรวจสภาพพื้นที่ การรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตุ รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป




นอกจากนี้  คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร ยังได้ไปตรวจสอบหาดปานาเระ ต.ปานาเระ อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง และรับฟังการบรรยายสรุปจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยว รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีด้วย


โดยปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่หาดปานาเระ มีตะกอนทรายทับถมปากร่องน้ำปิด ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ 80% ซึ่งประกอบอาชีพประมงได้รับความเดือดร้อน โดยกรมเจ้าท่าได้ดำเนินการขุดลอกทุกๆ 2-3 ปี/ครั้ง เพื่อแก้ปัญหาร่องน้ำตื้นเขิน ใช้งบประมาณในการขุดลอกแต่ละครั้งประมาณ 60 ล้านบาท ปริมาณทรายที่ขุดลอกประมาณ 500,000 ลบ.ม. ผลการดำเนินการหลายปีที่ผ่านมายังไม่สามารถแก้ปัญหาปากร่องน้ำตื้นเชินได้อย่างยั่งยืน ขุดลอกร่องน้ำเสร็จใช้ประโยชน์ได้เพียง 2 เดือน มรสุมก็เข้ามาอีก ทำให้ปริมาณตะกอนทรายจำนวนมากทับถมปิดบริเวณปากร่องน้ำ หลังฤดูมรสุมหมดปากร่องน้ำก็ปิดเช่นเดิม ต้นทุนน้ำภายในร่องน้ำมีปริมาณน้อย ยิ่งทำให้ปากร่องน้ำปิดเร็วขึ้นกว่าปกติ



จากปัญหาดังกล่าว  ทำให้ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นอาชีพหลักของซาวปานาเระ ทางเทศบาลตำบลปานาเระ ก็มีงบประมาณจำกัด ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ตลอดทั้งปี บางครั้งต้องใช้งบประมาณจากชมรมประมงพื้นบ้านฯ และงบประมาณจากแหล่งอื่นๆ นำมาขุดลอกเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ชาวประมงพื้นบ้านตำบลปานาเระ จึงได้ยื่นข้อเสนอแนวทางการดำเนินการแก้ปัญหาต่อคณะกรรมาธิการฯ ดังนี้


1. ขอให้กรมเจ้าท่าจัดสรรงบประมาณขุดลอกทุกปี และดำเนินการขุดลอกตลอดทั้งปี หรือมอบหมายให้ท้องถิ่นดำเนินการขุดลอกแทนโดยกรมเจ้าท่าเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณสำหรับการเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา สามารถขุดลอกได้ทันที โดยเฉลี่ยปริมาณทราย/ขุดลอกปีละ 200,000 ลบ.ม.




2. ขอให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วม จำนวน 9 คน เพื่อตรวจสอบการดำเนินการขุดลอกของกรมเจ้าท่าหรือท้องถิ่น/หน่วยงานที่รับผิดชอบ คณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทนชมรมประมงพื้นบ้าน ต.ปานาเระ 5 คน ผู้แทนท้องถิ่น 1 คน ผู้แทนฝ่ายปกครอง 1 คน ผู้แทนกรมเจ้าท่า 1 คน ผู้แทนผู้ดำเนินการ/ผู้รับจ้าง 1 คน  


3. แนวทางการแก้ไขปัญหาปากร่องน้ำปานาเระตื้นเขินในระยะยาว,  ทำการศึกษาแนวทางการปรับปรุงรูปแบบเขื่อนใหม่ให้สอดคล้องกับพื้นที่,

 ศึกษาแนวทางการสร้างกำแพงกันคลื่นนอกชายฝั่งบริเวณหน้าปากร่องน้ำ เพื่อป้องกันคลื่นน้ำทะเลนำทรายเข้ามาทับถมบริเวณปากร่องน้ำ

 และศึกษาแนวทางจัดหาแหล่งน้ำในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเชื่อมต่อกับร่องน้ำปานาเระ เช่น ขุดคลองเชื่อมกับแม่น้ำจะรัง ขุดคลองเชื่อมกับคลองบ้านมะรวด ฯลฯ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง

   ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เปิดศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดอาภากร...