นายศรีชัย วีระนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ พนักงา

นายศรีชัย วีระนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ พนักงา
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564

‘ประวิตร" ห่วงปชช. สั่งทุกหน่วยงาน เตรียมรับมือฝนใต้ จัดการแผนนำ้ทั้งระบบ

 ‘ประวิตร" ห่วงปชช. สั่งทุกหน่วยงาน เตรียมรับมือฝนใต้  จัดการแผนนำ้ทั้งระบบ 



เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่ห้องประชุมน้ำปิง ชั้น 4 อาคารจุฑามาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2/2564 โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา  กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เป็นต้น เข้าร่วมการประชุม



พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุหลายลูก ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและมีน้ำไหลหลากเข้าท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะริมแม่น้ำที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ 


แม้ว่าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมดำเนินการตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2564 และบริหารจัดการน้ำท่วมตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบและความเสียหายของประชาชน โดยการประชุมในวันนี้ ได้ติดตามผลการดำเนินงานทั้งหมดในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา รวมถึงจัดทำแผนการระบายน้ำจากพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งทบทวนปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข และสำหรับฤดูฝนถัดไปในปี 2565 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้มีการวางแผนและกำหนดมาตรการเชิงป้องกันให้แล้วเสร็จก่อนเดือน ก.พ. 65 เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการเตรียมพร้อมรับมือล่วงหน้ามากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังติดตามความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ที่เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประเมินและวางแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำเพื่อเตรียมพื้นที่รองรับน้ำให้เพียงพอ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ อ่างฯ บางลาง มีแผนพร่องน้ำในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 64 เพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเดือน ม.ค. 65 ทั้งนี้ จะดำเนินการควบคู่กับการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยได้มอบหมายให้ สทนช. เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกรมชลประทาน ใช้กลไกคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดในการปรับแผนการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป



ดร.สุรสีห์ กล่าวว่า พล.อ.ประวิตร ยังได้สั่งการและกำชับทุกหน่วยเกี่ยวข้องซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ โดยเตรียมทั้งในเรื่องบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลต่าง ๆ พร้อมตรวจสอบระบบชลประทานให้สามารถรองรับสถานการณ์น้ำได้เต็มศักยภาพตามสถานการณ์น้ำที่เป็นจริงในแต่ละช่วงเวลา และบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมอย่างเคร่งครัด ไปจนถึงการตรวจสอบพื้นที่ชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจและเส้นทางคมนาคม รวมทั้งเร่งกำจัดวัชพืช ขยะ สิ่งกีดขวางทางน้ำ และเร่งดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝนอย่างเคร่งครัดให้เกิดความพร้อมสูงสุดด้วย  และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2564/65 ตามที่ สทนช.เสนอ รวม 9 มาตรการ ได้แก่ 1) เร่งเก็บกักน้ำในทุกแหล่งน้ำให้มากที่สุด 2) จัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ 3) ปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตร 4) กำหนดการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ติดตาม กำกับ ให้เป็นไปตามแผน 5) วางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ส่งเสริมสนับสนุนการเพาะปลูก 6) เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ 7) เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ในแม่น้ำสายหลัก สายรอง 8) ติดตามประเมินผล 9) สร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำและแผนจัดสรรน้ำ โดยได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำแผนตามมาตรการที่กำหนด และขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว พร้อมรายงานต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2564/65 โดยวิเคราะห์พื้นที่เป้าหมายที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ เพื่อขับเคลื่อน 9 มาตรการข้างต้นได้อย่าง

มีประสิทธิภาพ แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1) การวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยคาดการณ์ปริมาณน้ำต้นทุน

ในเขตและนอกเขตชลประทาน เพื่อประเมินพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงภาวะน้ำแล้ง แบ่งเป็นพื้นที่อุปโภค บริโภค และพื้นที่เกษตรกรรม 2) แผนการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2564/65 


โดยคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การ (ณ วันที่ 1 พ.ย. 64) ทั้งประเทศ รวม 67,618 ล้าน ลบ.ม. ซี่งมากกว่าปี 2563 ถึง 25,739 ล้าน ลบ.ม. โดยสามารถจัดสรรน้ำเพื่อสนับสนุนในแต่ละกิจกรรม รวม 30,961 ล้าน ลบ.ม.  แบ่งเป็น 1.อุปโภค-บริโภค 2. รักษาระบบนิเวศ 3.การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และ 4. สนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับการใช้ประโยชน์จากน้ำในแก้มลิง ทุ่งรับน้ำ และแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่เก็บกักไว้เพื่อตัดยอดน้ำหลากมาใช้ในฤดูแล้ง ทำให้แผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 64/65 ทั้งประเทศ 

ธนากร โกศลเมธีรายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - โครงกระดูกหญิง นิรนาม ชุด ออกกำลังกายหรู โผล่ ฟ้อง คาดถูกฆ่า นานนับเดือน พม่าตัดหญ้าพบเผ่น ขวัญผวา

 ชุมพร - โครงกระดูกหญิง นิรนาม ชุด ออกกำลังกายหรู โผล่ ฟ้อง คาดถูกฆ่า นานนับเดือน พม่าตัดหญ้าพบเผ่น ขวัญผวา แรงงานพม่าตัดหญ้าใสสวนเจอเชือกสี...