นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

“รมว. ตรีนุช” คิกออฟ หลักสูตรฐานสมรรถนะใน 265 โรงเรียน เสริมศักยภาพการศึกษา รับเทรนด์การเปลี่ยนแปลง ในศตวรรษที่ 21

  

“รมว. ตรีนุช” คิกออฟ หลักสูตรฐานสมรรถนะใน 265 โรงเรียน เสริมศักยภาพการศึกษา รับเทรนด์การเปลี่ยนแปลง ในศตวรรษที่ 21



 

เสมา 1 กดปุ่ม kickoff นำร่องใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด จำนวน 265 โรงเรียน ทั้งสังกัด สพฐ.- สช.- อปท. เริ่ม ป.1-ป.3 ภาคเรียนที่ 2/2564 นี้ พร้อมเปิดตัวเว็บไซต์ cbethailand.com

 


วันที่ 11 ตุลาคม 2564 ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาจัดทำและพัฒนา(ร่าง)หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.....(หลักสูตรฐานสมรรถนะ) ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการนำร่องการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ เปิดตัวเว็บไซต์ cbethailand.com (Competency - based Education) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 



ซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยมี ดร.สิริกร มณีรินทร์ ประธานคณะกรรมการจัดทำและพัฒนากรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ  ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เข้าร่วม


โดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานเปิดโครงการนำร่องฯ ว่า ตนได้เข้ามารับหน้าที่เป็น รมว.ศธ.และได้แถลง 12 นโยบายด้านการจัดการศึกษา และ 7 วาระเร่งด่วน (Quick Win) ของ ศธ.ซึ่งเรื่องการปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย สู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 และเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยครอบคลุมการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ (Big ROCK) ด้านการศึกษาการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นอีกก้าวหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และปฏิรูประบบการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับความหลากหลายของการจัดการศึกษาและตอบโจทย์การพัฒนาของโลกอนาคต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัย มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และรู้คุณค่าของประวัติศาสตร์



“วันนี้การเปิดโครงการนำร่องการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 265 โรงเรียน ใน 8 จังหวัด ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมด้านหลักสูตรการศึกษาที่ยืดหยุ่น ตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียนรายบุคคล ซึ่งจะนำไปสู่แผนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการในวันนี้จะมีส่วนช่วยเปลี่ยนผ่านการศึกษาแบบเดิม ไปสู่การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน เปลี่ยน ‘ห้องเรียน’ เป็น ‘ห้องเรียนรู้’ ที่ผู้เรียนเข้าใจ ทำเป็น เห็นผลลัพธ์ และเด็กทุกคนมีโอกาสในการค้นพบเป้าหมายของตนเอง นำไปสู่ความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป”รมว.ศธ.กล่าว.

 

ด้าน ดร.อัมพร พินะสา กล่าวว่า จากสถานการณ์ของโลกในศตวรรษที่ 21 วิทยาการต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา(ฉบับปรับปรุง) ที่กำหนดให้กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ซึ่งมีเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกระดับเป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และใฝ่เรียนรู้ มีทักษะในการดำรงชีวิตในโลกยุคใหม่ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ มีความรับผิดชอบ และมีจิต สาธารณะ โดย สพฐ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถณะ มาตั้งแต่ปี 2562 ต่อมา รมว.ศธ. ตรีนุช เทียนทอง ได้กำหนดให้หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน มีการแต่งตั้ งคณะกรรมการอำนวยการจัดทำและพัฒนาฯหลักสูตรฐานสมรรถนะ และเปิดรับฟังความคิดเห็น โดยจัดเวทีระดมสมอง 12 ครั้งเวที ซึ่งจัดไปแล้วจำนวน 5 ครั้ง โดยแต่ละครั้งมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมมากกว่า 11,000 คน และจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยเปิดรับความคิดเห็นผ่านช่องทางสื่อโซเชียลมีเดียของ ศธ. และเว็ปไซต์หลักสูตรฐานสมรรถนะ เว็บไซต์ https://cbethailand.com  

 

“การทดลองใช้หลักสูตรในโรงเรียนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการวิจัยในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจำนวน 265 โรงเรียน จาก 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ กาญจนบุรี ศรีสะเกษ ระยอง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ในครั้งนี้ประกอบด้วย โรงเรียนในสังกัด สพฐ.จำนวน 226 โรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 17 โรงเรียน และ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)จำนวน 22 โรงเรียน โดยทั้ง 265 โรงเรียนเริ่มใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในช่วงชั้นที่ 1 ป.1-ป.3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้“ ดร.อัมพร ฯ  กล่าว.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง

   ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เปิดศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดอาภากร...