ชุมพร - ประกาศเขตโรคระบาด ชนิดโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease)
จังหวัดชุมพรพบการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน ในโค กระบือในพื้นที่ อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว และอำเภอเมืองชุมพร เกิดขึ้นในสัตว์ชนิดโคเนื้อ อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคในพื้นที่ดังกล่าวเป็นวงกว้างมาขึ้น เนื่องจากโรคนี้มี แมลงดูดเลือด ได้แก่ยุง แมลงวัน เหลือบ และเห็บ เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ และการเคลื่อนย้ายโค กระบือมีชีวิตจากพื้นที่เกิดโรคไปยังพื้นที่อื่น จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไปยังท้องที่จังหวัด อื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค และกระบือเป็นอย่างมาก จึงออกประกาศ 1ให้ท้องที่ทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกอำเภอในจังหวัดชุมพร เป็นเขตโรคระบาด ชนิดโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ในสัตว์ชนิดโค และกระบือ 2 ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ หรือซากสัตว์ ภายในเขตโรคระบาดเว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่ประจำเขต ประกาศ ณ วันที่ 21พฤษภาคม 2564 โดย นายสัมฤทธิ์ กองเงินรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร
วันที่ 23 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.00 น. นายสัตวแพทย์พิชัย โพธิ์กระสังข์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ กล่าวว่า ท่านธงชัย หนังสือ ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร ได้สั่งการให้ผมได้นำคณะลงพื้นที่มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 64 ที่ผ่านมาแล้ว โดยมี สัตวแพทย์หญิงกิจตาภรณ์ แสงจันทร์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์ อิสมาแอล ยุมาดีน นายสัตวแพทย์ประจำหน่วย HHU จังหวัดชุมพร ได้รับแจ้งจากท่านปศุสัตว์ อ.ท่าแซะ ,นายสัตวแพทย์พรชัย อินคำดี หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ชุมพร ,นายสมชาย สุทนต์ ปศุสัตว์อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ร่วมกันลงพื้นที่ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เป็นผลให้จังหวัดชุมพร ก็ได้ออกหนังสือประกาศเขตโรคระบาด ชนิดโรคลัมปี สกิน(Lumpy skin disease) พื้นที่ จ.ชุมพร ในวันที่ 21 พ.ค. 2564
จากรณีดังกล่าว นายสัตวแพทย์พิชัย โพธิ์กระสังข์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ รับแจ้งจากทางปศุสัตว์จังหวัดชุมพร ก็ได้แจ้งให้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่เลี้ยงโค-ควาย ให้เฝ้าระวัง พร้อมทั้งได้ประชาสัมพันธ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อในสัตว์ใหม่ที่มีชื่อว่า “ลัมปี สกิน” ในโคนม-โคเนื้อและควาย ซึ่งจะมีผล เช่น น้ำนมลดลง(สูงสุดถึง 40%) ส่วนโคขุนจะมีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันลดลง(ในระยะเวลา 1-2 เดือนช่วงที่เป็นโรค) และหากโคมีอายุน้อยถ้ามีอาการรุนแรงก็คือการเสียชีวิตในที่สุด และในพื้นที่ทีมีการแพร่ระบาดใน 3 พื้นที่ของจังหวัดชุมพร เช่น อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว และ อำเภอเมือง ทั้งนี้ทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพรก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบหมดแล้วเป็นการหยุดยังในการแพร่ระบาดของโรค
กรณีทำการรักษาโคที่ป่วยก็มักหายช้า ดังนั้น จึงขอให้ผู้เลี้ยงใช้มาตรการป้องกันที่แนะนำดังนี้คือ 1.ให้งดนำเข้าวัวหรือควายจากต่างพื้นที่เข้าฟาร์มโดยเด็ดขาด 2. ให้กำจัดแมลงดูดเลือดในฟาร์มโดยการพ่นสารกำจัดแมลงที่คอกและตัวสัตว์ เช่น สารไซเปอร์เมทริน สารแอลฟ่าไซเพอร์เมทริน สารเดลตาเมทริน หรือ สารอะมิทราซ ซึ่งค่อนข้างมีความปลอดภัยและไม่ตกค้างในน้ำนม หรือใช้หลอดไฟไล่แมลง 3. เมื่อพบโคที่สงสัยว่าจะเป็นโรค “ลัมปี สกิน” ก็ให้รีบแจ้งหมอหรือแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบเพื่อจะได้เข้าไปดูแล เพื่อวินิจฉัยควบคุมโรค หากพบวัว - ควาย ที่สงสัยว่าจะเป็นโรค “ลัมปี สกิน” ก็ควรรีบแยกสัตว์ตัวนั้นออกจากฝูง แล้วแจ้งให้ปศุสัตว์เข้ามาควบคุมโรค และผู้เลี้ยงควรกำจัดแมลง
สื่อมวนชนสอบถาม ในการแพร่ระบาดของโรค“ลัมปี สกิน” โค กระบือ จะมีการแพร่ระบาดมาสู่คนหรือเปล่าการแพร่ระบาดของโรค“ลัมปี สกิน” เป็นการแพร่ระบาดของไวรัส“ลัมปี สกิน” ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ ที่มี แมลงดูดเลือด ได้แก่ยุง แมลงวัน เหลือบ และเห็บ เป็นพาหะนำโรค และไม่มีการแพร่ระบาดมาสู่คน
ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร 0818923514
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น