นายศรีชัย วีระนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ พนักงา

นายศรีชัย วีระนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ พนักงา
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ชุมพร -   ระบาด หนัก 3 อำเภอ    โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease)

 ชุมพร -   ระบาด หนัก 3 อำเภอ    โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease)

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 10.30 น. นายสัตวแพทย์พิชัย โพธิ์กระสังข์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ กล่าวว่า ท่านธงชัย หนังสือ ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร ได้สั่งการให้ผมได้นำคณะลงพื้นที่บ้านนาย สุรชัย อินทจักร 52หมู่ที่ 5 ตำบล ตากแดด อำเภอ เมืองชุมพร พร้อมกับ นายพรชัย อินทร์คำดี หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ชุมพร  สัตวแพทย์หญิงกิจตาภรณ์ แสงจันทร์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์ อิสมาแอล ยุมาดีน นายสัตวแพทย์ประจำหน่วย HHU จังหวัดชุมพร    พบ มีวัวจำนวน 8 ตัว มีแม่วัว1ตัวมีอาการขาบวมและเป็นตุ่มตามผิวหนังจึงทำการรักษาตามอาการ และทำการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจหาโรค โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) โดยจะได้รับผลการตรวจอีก 3-5 วัน ในวันนี้ได้ทำการฉีดพ้นยาฆ่าแมลงในเบื้องต้น



จากรณีดังกล่าว นายสัตวแพทย์พิชัย โพธิ์กระสังข์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์  กล่าวว่า ในการแพร่ระบาดของโรค“ลัมปี สกิน” โค กระบือ เป็นการแพร่ระบาดของไวรัส“ลัมปี สกิน” ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ ที่มี แมลงดูดเลือด ได้แก่ยุง แมลงวัน เหลือบ และเห็บ เป็นพาหะนำโรค และไม่มีการแพร่ระบาดมาสู่คน   ได้ประชาสัมพันธ์ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่เลี้ยงโค-ควาย ให้เฝ้าระวัง ซึ่งจะมีผล เช่น น้ำนมลดลง(สูงสุดถึง 40%) ส่วนโคขุนจะมีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันลดลง(ในระยะเวลา 1-2 เดือนช่วงที่เป็นโรค) และหากโคมีอายุน้อยถ้ามีอาการรุนแรงก็คือการเสียชีวิตในที่สุด และในพื้นที่ทีมีการแพร่ระบาดใน 3 พื้นที่ของจังหวัดชุมพร เช่น อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว และ อำเภอเมือง ทั้งนี้ทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพรก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบหมดแล้วเป็นการหยุดยังในการแพร่ระบาดของโรค  ไม่ให้การแพร่ระบาดเป็นวงกว่างจนไปถึง14จังหวัดภาคใต้ ได้   กรณีทำการรักษาโคที่ป่วยก็มักหายช้า ดังนั้น จึงขอให้ผู้เลี้ยงใช้มาตรการป้องกันที่แนะนำดังนี้คือ 1.ให้งดนำเข้าวัวหรือควายจากต่างพื้นที่เข้าฟาร์มโดยเด็ดขาด  2. ให้กำจัดแมลงดูดเลือดในฟาร์มโดยการพ่นสารกำจัดแมลงที่คอกและตัวสัตว์ เช่น สารไซเปอร์เมทริน สารแอลฟ่าไซเพอร์เมทริน สารเดลตาเมทริน หรือ สารอะมิทราซ ซึ่งค่อนข้างมีความปลอดภัยและไม่ตกค้างในน้ำนม หรือใช้หลอดไฟไล่แมลง หรือก่อกองไฟ ไล่แมลง 3. เมื่อพบโคที่สงสัยว่าจะเป็นโรค “ลัมปี สกิน” ก็ให้รีบแจ้งหมอหรือแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบเพื่อจะได้เข้าไปดูแล เพื่อวินิจฉัยควบคุมโรค   หากพบวัว - ควาย ที่สงสัยว่าจะเป็นโรค “ลัมปี สกิน”  ก็ควรรีบแยกสัตว์ตัวนั้นออกจากฝูง แล้วแจ้งให้ปศุสัตว์เข้ามาควบคุมโรค และผู้เลี้ยงควรกำจัดแมลง

นายพรชัย อินทร์คำดี กล่าวว่า   จังหวัดชุมพรพบการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน ในโค กระบือในพื้นที่ อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว และอำเภอเมืองชุมพร เกิดขึ้นในสัตว์ชนิดโคเนื้อ  อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคในพื้นที่ดังกล่าวเป็นวงกว้างมาขึ้น เนื่องจากโรคนี้มี แมลงดูดเลือด ได้แก่ยุง แมลงวัน เหลือบ และเห็บ เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ และการเคลื่อนย้ายโค กระบือมีชีวิตจากพื้นที่เกิดโรคไปยังพื้นที่อื่น จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไปยังท้องที่จังหวัด อื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค และกระบือเป็นอย่างมาก  จังหวัดชุมพร จึงออกประกาศ 1ให้ท้องที่ทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกอำเภอในจังหวัดชุมพร เป็นเขตโรคระบาด ชนิดโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ในสัตว์ชนิดโค และกระบือ 2 ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ หรือซากสัตว์ ภายในเขตโรคระบาดเว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่ประจำเขต ประกาศ ณ วันที่ 21พฤษภาคม 2564 โดย นายสัมฤทธิ์ กองเงินรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ทางด่านกักกันสัตว์ชุมพร  จึงจัดกำลังลงตรวจสอบ 24 ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) อย่างเต็มกำลังต่อไป

ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร 0818923514

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - โครงกระดูกหญิง นิรนาม ชุด ออกกำลังกายหรู โผล่ ฟ้อง คาดถูกฆ่า นานนับเดือน พม่าตัดหญ้าพบเผ่น ขวัญผวา

 ชุมพร - โครงกระดูกหญิง นิรนาม ชุด ออกกำลังกายหรู โผล่ ฟ้อง คาดถูกฆ่า นานนับเดือน พม่าตัดหญ้าพบเผ่น ขวัญผวา แรงงานพม่าตัดหญ้าใสสวนเจอเชือกสี...