ชุมพร - ส่งมอบวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ รพ.สนามให้ สสจ.ชพ และ ผอ.รพ.สนาม พร้อมรับผู้ป่วย covid 19 มารักษาจำนวน 100 เตียง
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 นายธีระ อนันตเสรีวิทยาผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรเป็นประธานประชุมคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงาน รพ.สนามจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 3 ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร ซึ่งจังหวัดได้ปรับปรุงสถานที่โรงพยาบาลสนามเสร็จเรียบร้อยแล้วและส่งมอบสถานที่พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกเมื่อวันที่ 20 พ.ค.64 โดย อบจ.ชพ.ได้จัดซื้อจัดหาวัสดุมาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการบริจาคของส่วนราชการภาคเอกชนและมูลนิธิโดยที่ประชุมได้มอบหมายให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพรทำการซักซ้อมการรับส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลสนามจากโรงพยาบาลหลักในพื้นที่และการรักษาด้านพยาบาล การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง(สีเขียว)ที่ผ่องถ่ายมาจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั้ง 13 แห่งมารักษาต่อจนหายป่วยและตรวจหาเชื้ออีกครั้งก่อนส่งตัวกลับบ้านจริง โดยเลื่อนกำหนดการวันซักซ้อมเดิมจากวันที่ 27 พ.ค.64 เป็นวันที่ 4 ม.ย.64 เนื่องจากจะต้องมีการแต่งตั้งบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการจำลองสถานการณ์ให้ครอบคลุมคือทีมโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทีมโรงพยาบาลโซนเหนือ ทีมโรงพยาบาลโซนกลางและทีมโรงพยาบาลโซนใต้ให้ครอบคลุมพื้นที่และมีความปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและบุคลากรเจ้าหน้าที่โดยการบัญชาการเหตุการณ์โดย นพ.จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ สสจ.ชพ.และ นพ.ฉัตรชัย พิริยะ รอง ผอ.รพ.ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ /ผอ.รพ.สนามจังหวัดชุมพร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนรวมทั้งผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบ ม.การกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตชุมพรอีกด้วย
ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดชุมพรข้อมูล ณ วันที่ 27 พ.ค.64 วันนี้ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มเติมและมีผู้ป่วยรักษาหาย(กลับบ้าน) 82 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่จำนวนอีก 21 ราย เสียชวิตแล้ว 1 ราย รวมมีผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วทั้งหมดจำนวน 104 ราย
สำหรับการรณรงค์การลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกัน covid-19 โดยผ่านทาง 3 ช่องทางคือ (1 )แอพพลิเคชั่น “หมอพร้อม” (2 )ทางโรงพยาบาล,รพ. สต.,อสม. และองค์กร (3)ทาง QR code “วัคซีนโควิด-19 จังหวัดชุมพร” หลังจากที่ได้มอบหมายให้ ศปก.จ/ศปก.อ และ ศปก.ทม. ได้ร่วมมือบูรณาการสานพลังโดยใช้กลไกในระดับตำบล หมู่บ้าน/ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างเหมาบริการ(TST)และเจ้าหน้าที่ รพ. สต. ได้ออกไปเคาะประตูบ้านปรากฏว่ามีผู้ลงทะเบียนและประมาณ 140,000 กว่าราย และยังมีอีกบางส่วนที่ยังไม่ได้คีย์ข้อมูลในระบบวัคซีนโควิด-19 จังหวัดชุมพร
ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้กล่าวเพิ่มเติมว่าขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องประชาชนให้มาลงทะเบียนผ่านช่องทางโรงพยาบาล,รพ. สต./อสม.และองค์กร รวมทั้งทางช่องทาง QR Code วัคซีน โควิด-19 จังหวัดชุมพร ให้ได้จำนวนไม่น้อยกว่า 70% ของจำนวนประชากรหรือให้ครบ 100% (ห้วงเวลา 7 มิ.ย.64ถึง 30 ก.ย.64 ) ถ้าได้รับวัคซีนจากรัฐบาลจะได้วางแผนการฉีดให้พร้อมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
นอกจากนี้ได้รับแจ้งจากสมาคมผู้ส่งออกผลไม้จังหวัดชุมพรว่าในช่วงเดือน มิ.ย. ถึง ก.ค 64 จังหวัดชุมพรจะเป็นศูนย์กลางในการรับซื้อและส่งออกทุเรียนจาก 14 จังหวัดภาคใต้รวมทั้งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยมีแผงทุเรียนหรือล้งมาทำการรับซื้อจำนวน 200 กว่าล้งและจะมีแรงงานจากภาคตะวันออกรวมทั้งภาคอีสานเคลื่อนย้ายเข้ามาในพื้นที่จึงขอให้จังหวัดโดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณาขอรับการสนับสนุนวัคซีนจากรัฐบาลหรือกระทรวงสาธารณสุขมาบริการฉีดให้ผู้ประกอบการและแรงงานไม่น้อยกว่า 3,000 รายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ covid 19 และสร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกเพื่อไม่ให้เกิดคัสเตอร์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 และไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนอีกด้วย
ด้านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพรและทีมงานกล่าวว่ารู้สึกดีใจที่ชุมพรทีมได้ก่อสร้างโรงพยาบาลสนามแล้วเสร็จภายใน 10 วันโดยได้มาตรวจดูสถานที่และประเมินแล้วจำนวน 3 ครั้ง เห็นว่าเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขมีสิ่งอำนวยความสะดวกและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆมากกว่าหรือดีกว่าโรงพยาบาลสนามในหลายแห่งโดยจะบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์และมีความคุ้มค่าตลอดจนจัดทีม สหวิชาชีพด้านการแพทย์โดยมีผู้เชี่ยวชาญมาทำการรักษาผู้ป่วย covid-19 ให้ดีที่สุดและมีความปลอดภัย ณ วันนี้เรามีเตียงรองรับผู้ป่วย covid เพิ่มขึ้น 100 เตียงหากสถานการณ์รุนแรงก็จะปรับขยายเพิ่มขึ้นอีก 100 เตียง ต้องขอขอบคุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ส่วนราชการ อบจ. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ร่วมด้วยช่วยกัน
สำหรับการเฝ้าระวังในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนรวมทั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานหรือการเดินทางเข้ามายังจังหวัดชุมพรในพื้นที่เสี่ยงนั้นได้สั่งการให้สาธารณสุขอำเภอและ อสม. ลงพื้นที่ตรวจสอบและทำการค้นหาเชิงรุกซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว เช่นในพื้นที่ตำบลนาขา อำเภอ.หลังสวน ตำบลช่องไม้แก้ว อ.ทุ่งตะโก เป็นต้น ส่วนการลงทะเบียนสแกน QR Code Save Chumphon ได้เกิดประโยชน์ มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้หลักการ “หาให้พบ จบให้เร็ว”เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคเป็นวงกว้างซึ่งทีมสอบสวนโรคของจังหวัดชุมพรนั้น มีประสิทธิภาพสูงและเป็นที่ยอมรับของประชาชน
ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร 0818923514
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น