นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ชุมพร - สนข.เดินหน้าพัฒนาโครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

 ชุมพร - สนข.เดินหน้าพัฒนาโครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร



วันนี้(18 ส.ค. 66) ที่โรงแรมอวยชัยแกรนด์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เดินหน้าพัฒนาโครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์)

นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรายละเอียดโครงการ และการประเมินทางเลือกโครงการ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) เพื่อนำเสนอขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รายละเอียดโครงการ การประเมินทางเลือก และแผนการดำเนินงานของโครงการ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียต่อร่างขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของโครงการ ซึ่งจะนำไปพิจารณาประกอบการปรับขอบเขตการศึกษาให้มีความสมบูรณ์และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ดร.จิรโรจน์ ศุกลรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบการขนส่งและจราจรในภูมิภาค ผู้แทน สนข. ได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ ดังนี้ จากตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทย ที่มีความได้เปรียบทางที่ตั้งและภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะทางกายภาพสามารถเปิดสู่ทะเลทั้งสองด้านจึงเป็นโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากทำเลที่ตั้งดังกล่าว เพื่อนำมาพัฒนาเป็นเส้นทางทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเลเพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นอกเหนือจากการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน อันเป็นการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพทางการค้าของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศที่อยู่ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย อีกทั้งยังรองรับและส่งเสริมโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่สำคัญของประเทศ ดังนั้น จึงเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากจุดยุทธศาสตร์ของไทยที่เชื่อมมหาสมุทรแปรซิฟิกเข้ากับมหาสมุทรอินเดีย (Landbridge) ดังกล่าว เพื่อทำให้ประเทศไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการผลิต การคมนาคมขนส่งของเอเชีย

 

กระทรวงคมนาคมจึงเห็นควรให้มีการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่ง เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ท่าเรือ ถนน และรถไฟเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ โดยท่าเรือประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง คือ ท่าเรือฝั่งชุมพร ซึ่งมีพื้นที่โครงการตั้งเชื่อมโยงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก (ฝั่งตะวันออกของไทย) และท่าเรือฝั่งระนอง เชื่อมฝั่งมหาสมุทรอินเดีย (ฝั่งตะวันตกของไทย) ซึ่งมีแนวคิดในการพัฒนาสร้างท่าเรือให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัย โดยนำระบบออโตเมชั่นมาใช้ เพื่อยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port

ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

 ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง หลายฝ่ายเข้าสำรวจแหล่งน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจา...