นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ชุมพร - ปศุสัตว์เร่งติดตามการระบาดของโรคลัมปี สกิน(Lumpy Skin Disease)อย่างต่อเนื่อง

 ชุมพร - ปศุสัตว์เร่งติดตามการระบาดของโรคลัมปี สกิน(Lumpy Skin Disease)อย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 เวลา 9.35 น.ได้รับแจ้งจากเกษตรกรและปศุสัตว์อำเภอว่ามีโคเนื้อ ลักษณะคล้ายกับโรคลัมปี สกิน คือ ตามผิวหนังลักษณะเป็นตุ่มเล็กบ้างใหญ่บ้างทั่วร่างกายจำนวน 2 ตัว ในพื้นที่ ม.8 ต.วังไผ่ อ.เมืองชุมพร ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร โดยนายธงชัย หนังสือ จึงได้บัญชาและมอบหมายให้นายสัตวแพทย์พิชัย โพธิ์กระสังข์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ร่วมกับปศุสัตว์อำเภอเมืองพร้อมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ สอบสวนข้อเท็จจริงและทำการสอบสวนโรค ลัมปี สกิน Lumpy Skin Disease หรือโรคฝีดาษในโค กระบือ ของนายไพริน เถาเล็ก และของนายเจริญกิจ รสอุทิตย์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ ม.8 ต.วังไผ่ อ.เมืองชุมพร จากการสอบข้อเท็จจริงและอาการที่ปรากฎพร้อมกับมีการเจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการผลปรากฎว่าเป็นโรคลัมปี สกินจริง



นายสัตวแพทย์พิชัยโพธิ์กระสังข์ จึงได้ทำการแนะนำในมาตรการต่างๆในเรื่องของโรค ลักษณะของโรค การแพร่กระจายการติดต่อ หลักทางระบาดวิทยา การรักษาและการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไม่ให้มีการแพร่กระจายในวงกว้าง ซึ่งเกษตรกรทั้งสองรายได้ให้การยอมรับในมาตรการต่างๆที่ได้รับคำแนะนำและยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆพร้อมกับกำชับให้ปศุสัตว์อำเภอและเกษตรกรที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง ลัมปี สกิน ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ ผู้นำท้องถิ่น ผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้าน กำนันและ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ให้ความร่วมมือช่วยกันบูรณาการในการแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านและยังได้เน้นในมาตรการต่างๆทึ่ใช้ในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรค ดังนี้

1.เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้เพื่อดำเนินการค้นหาโรคอย่างทันท่วงที

2.ได้ประสานความร่วมมือกับด่านกักกันสัตว์ในมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้าย

3.ต้องมีการควบคุมเรื่องพาหะนำโรค เช่น การใช้สารฆ่าแมลง ตาข่าย มุ้ง หรือการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุของแมลงพาหะ

4.แยกและรักษาสัตว์ป่วยตามอาการ

5.ในกรณีสัตว์ป่วยด้วยโรคหรืออยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรคไม่สามารถดำเนินการฉีดวัคซีนได้

ตอนนี้ทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเองกำลังรอการจัดสรรวัคซีนจากส่วนกลาง ถ้ามีการจัดสรรมาเมื่อไหร่จะเร่งดำเนินการให้ทันทีเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร

ธนากร โกศลเมธีรายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร 0818923514

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง

   ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เปิดศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดอาภากร...