นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ชุมพร - วัฒนธรรมจังหวัดเตรียมฟื้นประเพณีกินข้าวแช่แลสาวมอญ

 ชุมพร - วัฒนธรรมจังหวัดเตรียมฟื้นประเพณีกินข้าวแช่แลสาวมอญ



เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 20 พ.ย 66 นางสุนิสา วิชัยดิษฐ์ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร นางสาวขวัญใจ เชื้อชะเอม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นางสาววิชุดา อ่ำศรีเจ้าหน้าที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  นายบรรเลง ศรีสวัสดิ์ รองประธานสภาองค์กรชุมชนอำเภอท่าแซะ ได้เดินทางร่วมประชุมกับ นายสมชาย เผือกเนียร รองนายก อบต.สลุย นายวิทยา งามระบำ เลขานายก อบต.นายมานิตย์ พุ่มลืมคิด ส.อบต.นายวุฒินันท์ แจ๊ะซ้าย รองประธาน พอช.ต. สลุย นายสำเนา สุดแน่น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 นายเจริญ อาจประดิษฐ์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด เขต อ.ท่าแซะ ผู้ช่วย ส.ส สันต์ แซ่ตั้ง และผู้แทนชาวมอญ ตำบลสลุย ได้ร่วมประชุมกันเพื่อเตรียมฟื้นฟูวัฒนธรรม ประวัติความเป็นมาวิถีชีวิตของชาวมอญ ซึ่งเตรียมบรรจุไว้ในประเภทวัฒนธรรมท้องถิ่น ของวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร โดยมีสภาการเกษตรกรจังหวัด สภาพัฒนาองค์กรชุมชน สภาวัฒนธรรม และสภา อบต.สลุย ให้การสนับสนุน


สำหรับชนชาวมอญของตำบลสลุยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยสงครามเก้าทัพ  มีหลักฐานปรากฏขึ้น ในห้วงปี 2328 อพยพมาอยู่พ่อตาหินช้างเมื่อปี 2497และ 2,500 ชาวมอญส่วนหนึ่งเดินทางมาจากราชบุรี สุราษฎร์ธานี  ในยุคสร้างถนนเพชรเกษมช่วงแรก โดยชาวมอญจะสร้างเพิงพักอยู่ ริมถนน ต่อมาจึงได้จับจองที่ดิน ทั้งสองฝั่งบริเวณนั้นสร้างบ้านเรือน  ปัจจุบันเป็นตลาดกล้วยพ่อตาหินช้าง 




ส่วนประเพณีของชาวมอญสลุย จะมีประเพณีที่สำคัญสืบทอดกันมาก็คือ “กินข้าวแช่และสาวมอญ” ที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมไว้ได้ นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาหาร ที่ขึ้นชื่อก็คือ “ข้าวแช่” โบราณมีการอบควันเทียน มีกับแกล้มเป็นปลากระเบนหวาน หมูหวาน หัวไชเท้า หวานยำมะม่วง กระเทียมดอง  มีอาหารเด็ดของชาวมอญอีกก็คือ การทำแกงก้านบอน แกงใบขี้เหล็ก แกงส้มแกงลูกซ่าน  ส่วนขนมนั้น เป็นขนม คันหลาง และข้าวต้มมอญ และยังมีการละเล่น ลูกช่วง การร้องเพลงพวงมาลัย สำหรับการแต่งกายของชาวมอญนั้น ตำบลสลุยยังคงอนุรักษ์การแต่งกาย มีการห่มสใบ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ในการทพบุญที่วัด 




โดยวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร เตรียมเข้าถ่ายทำความเป็นมาของชาวมอญตำบลสลุย ในวันที่ 18 ธันวาคม 66 นี้ เพื่อที่จะนำส่งให้มอบกระทรวงวัฒนธรรม มอบให้กับวัฒนธรรมจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบลสลุย เพื่อดำเนินการเผยแพร่ กิจกรรม และวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวมอญในจังหวัดชุมพรต่อไป

ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

 ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง หลายฝ่ายเข้าสำรวจแหล่งน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจา...