ชุมพร – ร้องสื่อ ราคาทุเรียนตกต่ำไม่ได้เป็นไปตามกลไกลการตลาดโดยพ่อค้าคนกลางกดราคาจากสารแคดเมียม
ชุมพร – เกษตรกรแบกรับภาระไม่ไหว ร้องสื่อ ราคาทุเรียนตกต่ำไม่ได้เป็นไปตามกลไกลการตลาดโดยพ่อค้าคนกลางกดราคาจากสารแคดเมียม
วันที่ 16 กันยายน 2567 ที่สวนป้าภา บ้านเลขที่ 72 ม14 ต ตะโก อ ทุ่งตะโก จ ชุมพร 86220 นายชลทิป สุวรรณหกาญจน์ สภาเกษตรกร ทุ่งตะโก และเป็น เจ้าของสวน ป้าภา ร้องสื่อ ราคาทุเรียนตกต่ำไม่ได้เป็นไปตามกลไกลการตลาดโดยพ่อค้าคนกลางกดราคาจากสารแคดเมียม ในวันนี้เป็นการตัดผลผลิตทุเรียนในวันแรกของต้น แม่ เชอรีน เป็นผลผลิตนอกฤดู มีด 1 ของเดือนกันยายน 2567 โดยต้นนี้ต้นเดียวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 35 เข่ง ๆละ 50 กิโลกรัมโดยประมาณ รวมแล้วประมาณ 1750 กิโลกรัม ในวันนี้ แต่มีการตรวจพบสารแคดเมียมที่ประเทศจีนว่าเป็นทุเรียนส่งไปจาก ชุมพร จึงทำให้ราคาตกต่ำมาในปีนี้ จริงแล้วราคา จะต้องไปอยู่ที่ 170-180 บาทต่อ กิโลกรัม ในวันนี้ ราคาชื่อขายหน้า ล้ง อยู่ที่ 130 บาท เท่านั้น ของทุเรียน A – B จึงของร้องสื่อเพื่อให้หน่วยงานเข้ามาประกันราคา ให้กับทุเรียนคุณภาพ ทุเรียนฟรีเมี่ยม ที่มีต้นทุนสูง
จากกรณีที่ประเทศจีนตรวจพบทุเรียนที่ส่งไปจากจังหวัดชุมพร พบว่า มีสารแคดเมียมปะปน และได้ตีกลับมายังต้นทางที่เป็นข่าว ทำให้พ่อค้าคนกลางได้นำ เงื่อไขในการพบสารแคดเมียม มาต่อรองและบีบบังคับในการรับชื้อผลผลิตทุเรียนและยังกดราคาให้ตกต่ำจนชาวสวนที่ต้นทุนในการผลิตที่สูงมาต้องแบกภาระต่างๆแทบจะไม่เหลือกำไรในการทำงานแล้ว และจากการตรวจสอบของหน่วยงานก็ไม่พบว่าทุเรียนภายในจังหวัดชุมพร ไม่สารแคดเมียม ปะปนอยู่ที่ใด แต่ก็ไม่มีใครออกมารับผิดชอบว่าเป็นทุเรียนที่นำเข้ามาจากที่ไหน ที่ทำให้เกิดปัญหา เพราะว่า ชุมพร เป็นจังหวัดที่เปิดให้พ่อค้าที่นำทุเรียนมาจากแหล่งต่างๆเข้ามารวมและส่งออกนอก (ประเทศจีน) แต่ปล่อยให้ปัญหานี้ตกอยู่กับ เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ของจังหวัดชุมพร ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารแคดเมียม ที่พบเจอในทุเรียนที่ส่งออกไปต่างประเทศ ทำให้เกษตรกรแบกภาระโดยลำพังโดยที่ไม่มีหน่วยงานไหนเข้าช่วยเหลือดูแลแต่อย่างใด
นายชลทิป สุวรรณหกาญจน์ กล่าว่า ขอให้หน่วยงานภาครัฐลงมาแก้ไขปัญหา ราคาทุเรียนตกต่ำในครั้งนี้อย่างจัดเชน จะเป็นปัญหาที่อันตรายมากๆ ต่อวงการทุเรียน จะทำอย่างไรที่จะมีความชัดเจน ในเรื่องของตลาดขายผลผลิต ราคาที่ถูกต้องและเป็นธรรม มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างกลไกลการตลาด ที่เหมาะสม เช่นให้มีหน่วยงานที่ควบคุมที่เป็นราคากลาง ทีจะต้องประกาศออกมาทุกวันว่า วันนี้ ทุเรียน A-B รับชื้อในราคาเท่าไร เบอร์ C ต้องเท่าไร ขอให้มีหน่วยงานเข้ามาดูแล เพราะต้อนนี้ทางเกษตรชาวสวนทุเรียนไม่ที่พึ่งเลย เหมือนขอนไม้ลอยน้ำไปวันๆ เกษตรกรก็ต้องรับภาระเหล่านี้อยู่ตลอดไป
ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น