นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565

ชุมพร - ประเพณีส่ง ตา - ยาย วัดประเดิม

 ชุมพร - ประเพณีส่ง ตา - ยาย วัดประเดิม




วันที่ 25 กันยายน 2565 ประชาชนชาวจังหวัดชุมพรเข้าร่วมกิจกรรมประเพณี ส่งตายายที่วัดประเดิมจังหวัดชุมพรจำนวนมาก วันรับ-ส่งตายาย ตายาย หมายถึง บุคคลที่ได้ล่วงลับไปนานแล้ว ซึ่งนับได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของทุกคนไม่ว่าเราจะรู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม ก็ถือว่าเป็นบุคคลที่สำคัญของตัวเอง ของพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง เป็นประเพณีที่เล่าต่อกันมาและเชื่อว่า ในวันวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปีเป็นวันที่บรรพบุรุษของเราได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยมเยือนลูกหลานตนเองเรียกว่าวันรับตายาย ในวันนี้ชาวจังหวัดชุมพรถือว่าเป็นวันสำคัญทางศาสนาวันหนึ่ง ที่บรรพบุรุษของเราได้กลับมาอยู่ใกล้ชิดลูกหลานตนเองเป็นเวลา 15 วัน บุคคลในครอบครัวควรทำแต่ความดี เพื่อให้บรรพบุรุษของเราได้กลับไปด้วยความปลาบปลื้ม เป็นสุข การมาของตายายในวันนี้ มาเพื่อเฝ้าดูพฤติกรรมของลูกหลานว่าทำแต่ความดีหรือไม่ ถ้าลูกหลานทำความดีบรรพบุรุษก็จะอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข มีโชคมีลาภ เมื่อครบ 15 วัน ตายายก็จะกลับ ซึ่งตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เรียกว่า วันส่งตายาย วันรับตายายลูกหลานจะต้องเตรียมปิ่นโต ข้าวปลาอาหาร ของคาว ของหวาน และดอกไม้ ธูปเทียน ผลไม้ ไปทำบุญที่วัด สิ่งที่ต้องเตรียมเป็นพิเศษเพื่อรับตายายคือ ถาดบิน ซึ่งในถาดประกอบด้วยอาหารคาวหวาน ผลไม้ ดอกไม้ ธูปเทียน วันส่งตายายลูกหลานต้องเตรียม ปิ่นโต ข้าวปลาอาหาร ของคาว ของหวาน และดอกไม้ ธูปเทียน ผลไม้ ไปทำบุญที่วัด และสิ่งของสำหรับส่งตายาย มีข้าวสาร กะปิ น้ำตาล น้ำปลา เกลือ ของแห้งต่างๆ และเงินจำนวนหนึ่ง ในวันนี้ลูกหลานบางคน จะถือโอกาสนำกระดูกผู้ล่วงลับไปสวดบำเพ็ญกุศล หลังจากนั้นอาจมีการทอดผ้าป่าสามัคคี ซึ่งกิจกรรมนี้อาจไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับความศรัทธาของแต่ละบุคคล














สำหรับประวัติพระบรมสารีริกธาตุวัดประเดิม ขุดพบเมื่อปี พ.ศ.2461 โดยหลวงปู่เวศ ภูริปญโญ เจ้าอาวาสวัดประเดิมสมัยนั้น จะสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ จึงให้คนงานรื้อวิหารและเจดีย์เก่าที่ชำรุด ซึ่งใต้ฐานพบลูกกลม ๆ ขนาดใหญ่ทำด้วยปูน ภายในมีบาตรดินโบราณ บรรจุผอบเงินผอบทอง และของมีค่าอื่น ๆ อีกจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีเม็ดเท่าเมล็ดข้าวโพดขนาดใหญ่สีขาว และสีต่าง ๆ ปนอยู่ด้วย คนงานจึงนำเม็ดเหล่านั้นไปให้หลวงปู่เวศ เมื่อท่านใส่ปากอมอยู่สักครู่ก็บอกว่า "พระบรมสารีริกธาตุ" โดยสันนิษฐานว่า พระบรมสารีริกธาตุ คงจะบรรจุในเจดีย์เป็นเวลาหลายร้อยปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2508 พระสังวรสมาธิวัฒน์ พร้อมด้วยคุณหญิง อนุกิจ วิธูร จากกรุงเทพฯ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากวัดประเดิม ไปวันสระเกศกรุงเทพมหานคร เพื่อถวายสมเด็จพระสังฆราช ให้ทรงพิจารณาว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่แท้จริงหรือไม่ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชทานได้พิจารณาแล้ว ท่านทรงรับรองว่า เป็นพระบรมสารีริกธาตุที่แท้จริง และได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจำนวนหนึ่ง เพื่อร่วมบรรจุร่วมกับพระบรมสารีริกธาตุของวัดประเดิม และทางวัดประเดิมได้ประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระปรางค์ เมื่อวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2511 แรม 2 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง

   ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เปิดศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดอาภากร...