นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ชุมพร - ชูโมเดลขับเคลื่อนเกษตรกรชาวสวนทุเรียนประยุกต์ใช้เทคโนโยยีดิจิทัล Kasettrack วางแผนการผลิตให้ได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน GAP ตัดทุเรียนแก่ สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการส่งออก รับซื้อผลผลิตทุเรียนของวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพเนิน 491 ต.รับร่อ 100 เปอร์เซ็นต์

 ชุมพร - ชูโมเดลขับเคลื่อนเกษตรกรชาวสวนทุเรียนประยุกต์ใช้เทคโนโยยีดิจิทัล Kasettrack วางแผนการผลิตให้ได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน GAP ตัดทุเรียนแก่ สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการส่งออก รับซื้อผลผลิตทุเรียนของวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพเนิน 491 ต.รับร่อ 100 เปอร์เซ็นต์



วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 09.30 น. นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสร้างรายได้แก่ชุมชนพัฒนา คุณภาพความเป็นอยู่ และสร้างมาตรฐานการผลิตทุเรียนคุณภาพ ภายใต้แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน Kasettrack ระหว่าง บริษัท ศิริมงคล คอร์เปอเรท กรุ๊ป จำกัด กับ บริษัท วีเคฟซอฟท์ จำกัด วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพเนิน 491 ต.รับร่อ และสหกรณ์การเกษตรบ้านพันวาล จำกัด โดยมี นายปรีดา เยี่ยมสวัสดิ์ ประธานกรรมการ, นางผุสดี เยี่ยมสวัสดิ์ บริษัทศิริมงคล คอร์เปอเรท กรุ๊ป จำกัด, นายประวิทย์ จันวะดี ประธานกรรมการบริษัทวีเอฟ ซอฟท์ จำกัด, นายบรรเลง ศรีสวัสดิ์ ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพเป็น 491 และสหกรณ์การเกษตรบ้านพันวาล จำกัด ร่วมกันลงนาม 4 ฝ่าย และมีนายศิริ เล่าสกุล นายกสมาคมทุเรียนใต้ นายวีรวัฒน์ จีรวงศ์ นายกสมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดชุมพร ดร.อภิชาติบุตร รอดยัง รักษาการผู้จัดการสาขาภาคกลางตอนกลาง ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พาณิชย์จังหวัดชุมพร เกษตรจังหวัดชุมพร สหกรณ์จังหวัดชุมพร และนายบรรจง ศิริปุญญะ ประธานกรรมการร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน

นายโชตินรินทร์ เกิดลม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าว "ภาคการเกษตรโดยเฉพาะทุเรียน น้ำมันปาล์ม และยางพารา นั้น ถือเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของจังหวัดชุมพร ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดชุมพร หรือ GDP เป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ และลำดับที่ 16 ของประเทศ โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวอยู่ที่ประมาณ 233,000 บาท/คน/ปี จังหวัดชุมพร ได้มีความพยายาม หาวิธีหรือมาตรการ ในการควบคุมการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ซึ่งเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพเป็น 491 ต.รับร่อ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ต้นแบบ มีเกษตรกรชาวสวนทุเรียนกว่า 200 คน ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล แอปพลิเคชั่น Kasattrack ของบริษัท วีเดฟซอฟท์ จำกัด ดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทย จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

ซึ่งแอปพลิเคชัน Kasettrack ช่วยทำให้เกษตรกรสามารถจดบันทึกกิจกรรมการเพาะปลูกไว้บนสมาร์ทโฟน ได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังสามารถป้องกันการสวมสิทธิ์ใบรับรอง GAP ป้องกันการตัดทุเรียนอ่อนและยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบคุณภาพภายในกลุ่ม สนับสนุนการตรวจประเมิน เพื่อออกใบรับรอง GAP ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิค 19 ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นให้บริษัท ศิริมงคล คอร์เปอเรท กรุ๊ป จำกัด ผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนรายใหญ่ของจังหวัดชุมพร รับซื้อผลผลิต 100 เปอร์เซ็นต์ สร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้พี่น้องเกษตรกร

ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร มีความพร้อมขับเคลื่อนขยายผลยกระดับเกษตรกรให้มีความพร้อมปรับเปลี่ยนการผลิตแบบดั้งเดิม สู่การเกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยีดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมทุเรียนไทยพัฒนาขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ Smart city สร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน ต่อไป

ธนากร โกศลเมธีรายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง

   ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เปิดศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดอาภากร...