นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564

ระนอง -  ศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

 ระนอง -  ศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00-16.30 น. นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง  เดินทางมาเป็นประธานในการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 1 พื้นที่ในระบบหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลน้ำจือน้อย อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ถึงตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ มีพี่น้องในพื้นทีเข้าร่วมจำนวน 70 คน ณ หอประชุมอำเภอสุขสำราญ ที่ว่าการอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง



           ดร.ฐิตาพรรณ ฉันทโชติ ผู้แทนกรมโยทาและผังเมือง  กล่าว่า กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท แมคโครคอนซัลแตนท์ จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินการโครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ในพื้นที่ศึกษาตามแนวทางการจัดการชายฝั่งด้วยระบบกลุ่มหาดของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านการจัดการชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐ ที่รับผิดชอบในการจัดการและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และจัดทำแผนหลักแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ศึกษา โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางวิศวกรรม สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ให้กับชายฝั่งที่ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างบูรณาการและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการต้องดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงได้กำหนดให้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อย 4 ครั้ง ตลอดระยะการศึกษา สำหรับการประชุมในวันนี้เป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงสรุปผลการศึกษาร่างแผนหลักแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด พร้อมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการ และเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่อการพัฒนาโครงการ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโครงการ นอกจากนี้ ได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนต่าง ๆ ในการสนับสนุนการศึกษาโครงการ โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด ระดับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และตัวแทนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่โครงการ และพื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมการประชุม

      นายสมเกียรติ ศรีษะเนตรเปิดเผยว่า    เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็น ระยะทางยาวกว่า 3,148 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด เป็นชายฝั่งทะเลอ่าวไทย จำนวน 17 จังหวัด ความยาว 2,055 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลอันดามัน จำนวน 6 จังหวัด ความยาว 1,093 กิโลเมตร โดยปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่หลากหลาย เช่น เป็นชุมชนที่อยู่อาศัย พื้นที่นันทนาการและการท่องเที่ยว การทำประมง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น ดังนั้น ชายฝั่งทะเล จึงมีความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  อย่างไรก็ดี พื้นที่ชายฝั่งทะเลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้แนวชายฝั่งมีการ เปลี่ยนแปลงทั้งการตกตะกอนทับถมและการกัดเซาะชายฝั่ง โดยในพื้นที่ศึกษาเองก็พบว่า มีแนว ชายฝั่งที่ประสบปัญหาคลื่นกัดเซาะที่ดินชายฝั่งในหลายบริเวณ โดยตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา มี หน่วยงานราชการทั้งในท้องถิ่นและส่วนกลาง ตลอดจนเจ้าของที่ดินเอง ได้ดำเนินการป้องกันการกัด เซาะชายฝั่งในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งหากรูปแบบการป้องกันที่เลือกใช้ไม่เหมาะสม หรือ ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรมแล้ว ก็จะทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการ ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

อย่างไรก็ดี ทราบว่ากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มีการกำหนดแนวทางการ จัดการ ชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด โดยการแบ่งพื้นที่ชายฝั่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ หรือเป็น “กลุ่มหาด” โดย ใช้หัวแหลม หัวเขา หรือปากแม่น้ำ มาเป็นตัวแบ่งขอบเขตของกลุ่มหาด เพื่อให้สามารถดำเนินการวาง แผนการบริหารจัดการชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน  จากรายงานของผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ระบุว่า การดำเนินงานโครงการ ได้นำเอา แนวคิดการจัดการชายฝั่งด้วย “ระบบกลุ่มหาด” มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อ ยอดองค์ความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ ที่ รับผิดชอบในด้านการจัดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้ง ยังให้ความสำคัญกับการ ประชาสัมพันธ์ และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดย กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์และ ประชุมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 3 ครั้ง และการประชุม เชิงวิชาการเฉพาะด้านวิศวกรรมการ ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 1 ครั้ง โดยในครั้งนี้ จะเป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 เพื่อประชาสัมพันธ์และขี้แจงโครงการ และนำเสนอ “ร่างแผนหลักแนวทางและมาตรการการ แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ ระบบกลุ่มหาด” ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าทุกท่านที่ร่วมอยู่ในที่ประชุม แห่งนี้ มีศักยภาพ และพร้อมที่ จะให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ที่ หลากหลาย เพื่อที่หน่วยงานจะได้ นำแนวคิดที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นไปบูรณาการร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา และเกิดความยั่งยืนต่อไป

 " เรียนหัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน และภาคประชาชน ตลอดถึงประชาชนที่มีความสนใจทุกท่านการประชุมครั้งนี้สำเร็จลงด้วยดี เนื่องจากทุกท่านได้เห็นความสำคัญของโครงการและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  ขอขอบคุณท่านผู้มีเกียรติทุกท่านที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่าเข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นนี้ " ดร.ฐิตาพรรณ ฉันทโชติ กล่าวเพิ่มเติม

 

ธนากร โกศลเมธีรายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร 0818923514

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง

   ชุมพร -  เปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการแก่ผู้ป่วยในจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เปิดศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดอาภากร...