ชุมพร - จัดอบรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.)
วันที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 08.30 น.- 16.30 น ที่ ห้องประชุมโรงแรมชุมพรการ์เด้นส์ ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร นางสาววัลภา แก้วสวี พัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชุมพร ให้เกียรติมาเป็นประธานโครงการอบรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) รุ่นที่ 2ประจำปี 2564 ได้รับความสนใจจากประชาชนชาวชุมพรแลเจ้าหน้าทีท้องที่ท้องถิ่นเข้ารับการอบรม จำนวน 130 คน ในรุ่นที่ 2 นี้
[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=RskBr5hZmCE[/embedyt]
อพม. ความหมาย อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำหมู่บ้าน (อพม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) คือ อาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านต่างๆ ในชุมชนอยู่แล้วและสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อท้องถิ่นของตนเอง บทบาทหน้าที่ของ อพม.อพม. สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีบทบาทหน้าที่และภารกิจ คือ 1. ชี้เป้า – เฝ้าระวัง คือ การสำรวจและรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและผู้รับบริการ การเฝ้าระวังการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาด้านสังคมเบื้องต้น และการรายงานสถานการณ์ทางสังคมของชุมชน 2. เชื่อมกลุ่มเดิม – เสริมสร้างกลุ่มใหม่ คือ การประสานงาน การส่งต่อผู้รับบริหารและการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนราชการและเอกชนที่เกี่ยงข้อง 3. ร่วมใจทำแผนชุมชน คือ ควรเป็นผู้ผลักดันหรือกระตุ้น ให้ชุมชนร่วมมือ ร่วมใจกัน ระดมความคิดเพื่อจัดทำแผนของชุมชนโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เช่น การจัดทำแผนสวัสดิการชุมชน
สิทธิประโยชน์ อพม. จะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ 1. ได้รับวุฒิบัตร 2. มีบัตรประจำตัว 3. ได้รับการเสนอชื่อเพื่อประกาศเกียรติคุณ4. อพม. ดีเด่นจะได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการพิจารณารายชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติที่พึงจะได้รับการพิจารณาเพื่อเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง ดิเรกคุณาภรณ์ คุณสมบัติ อพม. 1. เป็นคนในชุมชน / หมู่บ้าน2. บรรลุนิติภาวะ 3. สนใจและใส่ใจเรียนรู้ด้านการพัฒนาและด้านข้อมูลข่าวสาร 4. รักท้องถิ่น 5. เชื่อมันในแนวคิด พึ่งตนเอง 6. การศึกษาอ่านออกเขียนได้ 7. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และสามารถสื่อสารเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง 8. เอื้ออาทรและสนใจช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาในชุมชนและสังคม
การสรรหา อพม. ให้แต่ละจังหวัดพิจารณากระบวนการสรรหาเอง ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์การดำเนินงานอาสาสมัคร ในแต่ละจังหวัด ซึ่งอาจมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา หรือมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ การพ้นสภาพของ อพม. มี 3 ประการ คือ 1. ตาย 2. ลาออก 3. คณะกรรมการอำนวยการโครงการระดับจังหวัดมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสียหายอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือ ความบกพร่องต่อการปฏิบัติหน้าที่
นางสาววัลภา แก้วสวี เปิดเผยว่าจัดอบรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.)รุ่นที่ 2 เป็นไปตามหลักสูตรอพม. เพื่อเป็นการพัฒนาผู้มีจิตอาสาที่สมัครเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ให้มีความรู้พื้นฐานงานอาสาสมัครและงานด้านการพัฒนาสังคมให้เป็นไปตามระเบียบกฏหมาย สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทอำนาจหน้าที่ได้สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามระเบียบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ.2557 ด้วนจังหวัดชุมพร โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ได้กำหนดจัดกิจกรรมโครงการอบรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)รุ่นที่ 2 ประจำปี 2564 ตามหลักสูตรอพม. ในวันที่12 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมโรงแรมชุมพรการ์เด้นส์ ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร 0818923514
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น