ชุมพร - คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทาง การบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ดูระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดชุมพร
วันที่ 2 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 น. ที่อาคารศูนย์การเรียนรู้โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ ตำบลบางลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร นายสาคร เกี่ยวข้อง ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ และคณะ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดชุมพร พร้อมรับฝังสรุปผลการดำเนินงาน การบริหารจัดการน้ำภายในจังหวัด และแนวทางในการป้องกัน รวมถึงการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน โดยมีนายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รายงานถึงระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดชุมพร
โดยการบริหารจัดการน้ำภายในจังหวัด
แนวทางในการป้องกัน และแก้ปัญหาอย่างยังยืน จังหวัดชุมพร แบ่งเป็น 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำท่าตะเภา
คลองท่าตะเภาที่ไหลผ่านเมืองชุมพรมีต้นน้ำอยู่ที่อำเภอบางสะพานน้อย
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอท่าแซะ มีคลองสาขาหลักอยู่ 2 สาย คือ คลองท่าแซะ และคลองรับร่อ
ไหลรวมกันสู่คลองท่าตะเภา ที่ตำบลนากระตาม อำเภอท่าแซะ ผ่านตัวเมืองชุมพร
มีความยาว 112 กิโลเมตร ซึ่งจังหวัดชุมพร
มีระบบป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพร พร้อมแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
ตามพระราชดำริที่ปลายน้ำ คือ แก้มลิงหนองใหญ่, คลองระบายน้ำหัววังผนังตัก, และที่กลางน้ำ คือ ประตูระบายน้ำทำแซะ
ส่วนการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนนั้น ยังมีความจำเป็นต้องมี
"อ่างเก็บน้ำท่าแซะ" บริเวณต้นน้ำจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาอุทกภัย
และภัยแล้ง
ลุ่มน้ำคลองชุมพร
ซึ่งต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีทางทิศตะวันตก ในพื้นที่ตำบลปากจั่น
อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
มีลักษณะพื้นที่ทางทิศตะวันตกเป็นภูเขาสูงลาดลงทางทิศตะวันออก ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย
ตอนเหนือของอ่าวสวี ในพื้นที่ตำบลทุ่งคา โดยไหลผ่าน ตำบลวังใหม่ ตำบลบ้านนา
ตำบลวังไผ่ ตำบลตากแดด ตำบลขุนกระทิง ตำบลบางหมากและตำบลทุ่งคา
ในพื้นที่อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ซึ่งมีความยาวทั้งหมดประมาณ 50กิโลเมตร มีถนนสายเอเซียผ่านบริเวณทางแยกเข้าเมืองชุมพร
คือสี่แยกปฐมพรห่างจากเมืองชุมพรประมาณ 8
กิโลเมตร
ซึ่งคลองชุมพรก็จะไหลผ่านบริเวณสี่แยกนี้ผ่านเทศบาลตำบลวังไผ่ ซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมในบริเวณนี้ทุกปี
ปีละหลายครั้งการแก้ไขปัญหาจะต้องทำการขุดคลองลัด
เพื่อช่วยระบายน้ำหลากจากบริเวณเหนือถนนสาย 41
ซึ่งเป็น
โครงข่ายสายหลักระหว่างภาค เพื่อแก้ไขปัญหาการสัญจรของประชาชนที่จะเดินทางขึ้น- ลง
ภาคใต้ทั้งหมด และแก้ปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซาก ในพื้นที่ ตำบลบ้านนา ตำบลขุนกระทิง
ตำบลตากแดด ตำบลบางหมาก ตำบลทุ่งคา รวม 5
ตำบล
ซึ่งตามแผนงานตั้งแต่ ปี 2558-2563
นั้น
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการในการขอออกพระราชกฤษฎีกา ขณะนี้สำนักงานกฤษฎีกา
ดำเนินการตรวจสอบหลักฐานรายละเอียดและนำเสนอคณะเห็นชอบและรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา
จะดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2563
ลุ่มน้ำคลองหลังสวน แม่น้ำหลังสวนมีต้นกำเนิดในเขตจังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไหลผ่าน อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร แล้วออกสู่ทะเลอ่าวไทยที่ปากน้ำหลังสวน มีความยาวของแม่น้ำหลังสวนและลำน้ำสาขาประมาณ 497 กิโลเมตร ในระยะเร่งด่วนจะดำเนินการขุดลอกกำจัดสิ่งกีดขวาง ตะกอนดิน สันดอน ในลำน้ำคลองหลังสวน ช่วงปลายคลองและลำคลองสาขา คือ คลองบางกา ตำบลพ้อแดง -ตำบลนาพญา, คลองน้ำขาว ตำบลพ้อแดง, คลองตำเสา ซึ่งการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้จังหวัดจะได้ทำการศึกษาความเหมาะสม และสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบในลุ่มน้ำคลองหลังสวน โดยกำหนดแผนการดำเนินการ 7 โครงการ งบประมาณ 3,109.5 ล้านบาท
ด้านนายสมพร
ปัจฉิมเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่า
โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ จังหวัดชุมพร หรือที่เรียกกันว่า
แก้มลิงหนองใหญ่ เป็นแนวพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 ในการทำแก้มลิงธรรมชาติบริเวณหนองใหญ่
ให้สามารถกักเก็บน้ำได้เพียงพอ ต่อการบรรเทาปัญหาอุทกภัย
และเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ระดับเก็บกักสูงสุดปริมาณความจุของหนองใหญ่ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร หากปริมาณน้ำมีมากเกินกว่าระดับเก็บกักก็จะระบายออกจากหนองใหญ่
ทางช่องระบายน้ำฉุกเฉินเข้าสู่คลองหัววัง-พนังตัก เพื่อระบายลงสู่ทะเลต่อไป
แก้มลิงหนองใหญ่ ที่นี่ถือเป็นแก้มลิงธรรมชาติแห่งแรก ในประเทศไทย
ซึ่งเป็นแก้มลิงที่ในหลวง รัชกาลที่ 9
ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง
ควบคุมการสร้างด้วยพระองค์เอง ที่สำคัญงบประมาณมาจากพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ด้วย
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้า
ล้นกระหม่อมต่อพสกนิกรชาวชุมพรอย่างหาที่สุดมิได้
ธนากร
โกศลเมธี รายงาน ศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร 0818923514
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น