ธนาคาร ธ.ก.ส. จังหวัดชุมพร สร้างฝายชะลอน้ำขนาดใหญ่. เพื่อกักเก็บน้ำ ของชาวชุมพร
วันที่ 3 สิงหาคม 2560
นายชัยสิทธิ์ พาณิชย์พงศ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้เกียรติร่วมงานมหกรรมรวมพลคนรักป่ารักน้ำจากภูผาสู่มหานาทีพร้อมพิธีส่งมอบฝ่ายชะลอน้ำขนาดใหญ่ซึ่งสำนักงานธนาคาร
ธ.ก.ส. จังหวัดชุมพรได้สนับสนุนการสร้างฝายชะลอน้ำขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยใช้งบประมาณของกองทุนบรรเทาความเดือดร้อน
ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติและภัยพิบัติ ที่ธนาคาร
ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือลูกค้าธนาคาร รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ประสบความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่างๆ
พร้อมทั้งมอบเงินสนับสนุนกองทุนธนาคารต้นไม้ให้กับชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง 116
ชุมชน โดยมีนายวิรัช วานิชธนากุล ผู้ช่วย ผู้จัดการใหญ่ ธ.ก.ส. พร้อม พันเอกพรชัย
อินทนูเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 44 นายอำเภอพะโต๊ะและผู้แทนส่วนราชการต่างๆพร้อมเกษตรกรลูกค้าธนาคารทอก็สอร่วมกิจกรรมกว่า
500 คนนะศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงบ้านประสานมิตรหมู่ที่ 18
ตำบลพะโต๊ะอำเภอพน จังหวัดชุมพร
นายธีรกุล โอสถ ผู้อำหน่วยการสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดชุมพร เปิดเผยว่าตามที่ธนาคารได้จัดทำโครงการฝายชะลอน้ำเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน
ปลูกฝังจิตสำนึกในการรักษา และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม
การอนุรักษ์ดินน้ำป่า และสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ลดความรุนแรงของการ
เลื่อนไถลของหน้าดิน และกระแสน้ำ และกักเก็บน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภครวมถึงใช้ใน
ภาคการเกษตรโดย ในปีที่ผ่านมาธนาคาร ธ.ก.ส. จังหวัดชุมพร ได้สนับสนุนการสร้างฝายชะลอน้ำ
สนับสนุนงบประมาณสร้างฝายขนาดเล็กจำนวน 4 ฝายๆ ละ 30,000
บาท รวมจำนวนงบประมาณ 120,000 บาท ฝายขนาดกลางจำนวน 3 ฝายๆ ละ
155,000 บาทรวมจำนวนงบประมาณ 465,000
บาท ฝายขนาดใหญ่จำนวน 1,000,000
บาท เป็นเงินประมาณหนึ่งล้านบาทรวมงบประมาณทั้งสิ้น 1,585,000
บาท โครงการธนาคารต้นไม้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนปลูกต้นไม้ ตามแนวทางพระราชดำริปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างในที่ดินตนเอง
และชุมชนสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชุมชนร่วมกันสามารถพึ่งตนเองได้ในระดับครอบครัวชุมชน
และเชื่อมโยงเครือข่ายระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศเพื่อเป็นการดูแล
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากต้นไม้พร้อมทั้งมอบเงินกองทุนธนาคารต้นไม้ให้กับชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
116 ชุมชนชุมชนละ 3000 บาทจำนวนงบประมาณ
348,000 บาทโดยให้คนและชุมชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรโดยพัฒนาชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ให้ เข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมตามลำดับขั้นตอนของการพัฒนาตั้งแต่การพึ่งพาตนเองพึ่งพาซึ่งกันและกันจนเชื่อมโยงธุรกิจชุมชนซึ่งในจังหวัดชุมพรได้มีการดำเนินการ
116 ชุมชนตลอดจนกิจกรรมเพื่อเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีการแจกต้นไม้ให้กับชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง
116 ชุมชนชุมชนละ 87 ต้นรวม
10,009 12 ต้นเพื่อนำไปปลูกในแต่ละชุมชนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น