นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

"สัณหพจน์" ยก “ศาลาดินโมเดล” แก้ปัญหาผักตบชวา สร้างรายได้คนลุ่มน้ำปากพนัง

 "สัณหพจน์" ยก “ศาลาดินโมเดล” แก้ปัญหาผักตบชวา สร้างรายได้คนลุ่มน้ำปากพนัง



ส.ส.พปชร.เขต 2 นครศรีฯ จี้หน่วยงานรัฐ เร่งแก้ปัญหา “ผักตบชวา” ลุ่มแม่น้ำปากพนัง แนะใช้ “ศาลาดินโมเดล” สร้างมูลค่าผักตบชวา เป็นทางออก ช่วยลดความเดือดร้อน พร้อมสร้างรายได้ยั่งยืนให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่


ดร.สัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.เขต 2 จ.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า จากการที่ตนได้หารือต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร กรณีปัญหาผักตบชวาในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร และอ.ปากพนัง เมื่อวันที่ 10 พ.ย.64 




ล่าสุด ตนได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนอีกครั้ง เนื่องจากผักตบชวาที่เป็นปัญหาดังกล่าว ได้ลุกลามกลายเป็นปัญหาต่อเนื่องกระทบกับพี่น้องประชาชนในบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ทั้งในเรื่องการทำมาหากินและผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง 



ทั้งนี้จากการที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้มอบนโยบายและกำชับ 5 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง,กรมชลประทาน,กรมเจ้าท่า,คณะทำงานฯระดับจังหวัด เร่งรัดกำจัด และแปรรูปเพิ่มมูลค่าของผักตบชวา ในพื้นที่ที่เกิดปัญหา  ซึ่งพบว่า ได้ดำเนินการจัดเก็บผักตบชวารวมทั้งสิ้น 4,513,836 ล้านตันแล้วนั้น



ดังนั้นตนจึงอยากฝากไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน จ.นครศรีธรรมราช ได้เร่งดำเนินการจัดเก็บผักตบชวาในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง 3 อำเภอ ก่อนที่ปัญหาดังกล่าวจะลุกลามกระทบต่อระบบนิเวศในแม่น้ำลำคลอง รวมทั้งชายฝั่ง ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนมากกว่าที่เป็นอยู่


นอกจากนี้ ตนขอเสนอให้ มีการนำ “ศาลาดินโมเดล” มาใช้ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยการนำผักตบชวา ไปแปรรูปและใช้ประโยชน์สร้างรายได้และอาชีพให้กับประชาชน ซึ่งมีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จแล้วในพื้นที่ ต.ศาลาดิน อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม


“ศาลาดินโมเดล จ.นครปฐม โดยกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานมหาสวัสดิ์ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการแก้ไขปัญหาผักตบชวาในแหล่งน้ำลำคลอง โดยทางกลุ่มได้นำผักตบชวามาแปรรูปเป็น “ดินพร้อมปลูกผสมผักตบชวา” เพื่อส่งขายสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ที่ผ่านมากลุ่มฯ ได้รับซื้อผักตบชวาสับตากแห้งจากชาวบ้านในราคากก.ละ 20 บาท ซึ่งชาวบ้านที่ทำผักตบมาขายให้กับกลุ่มฯ จะมีรายได้ตั้งแต่ 2,000 – 6,000 บ./เดือน ปัจจุบันทราบว่า กลุ่มฯ มียอดขายดินพร้อมปลูกกว่า 5,000 ถุง/เดือน และยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด” ดร.สัณหพจน์ กล่าว



สำหรับตัวอย่างดังกล่าว สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาผักตบชวาในลุ่มน้ำปากพนังได้ โดยนอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในพื้นที่ ซึ่งกระทบต่อการทำประมงพื้นบ้าน และผลกระทบต่อระบบนิเวศในแม่น้ำลำคลองและชายฝั่งแล้ว ยังช่วยให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำมีรายได้ที่ยั่งยืน และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมต่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำได้อีกด้วย

ธนากร โกศลเมธีรายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

 ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง หลายฝ่ายเข้าสำรวจแหล่งน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจา...