นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

มท.1 ขับเคลื่อนขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เดินหน้าซักซ้อมทีมปฏิบัติการตำบลทั่วประเทศ เพื่อขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำให้เกิดมรรคผลเป็นรูปธรรม

 มท.1 ขับเคลื่อนขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เดินหน้าซักซ้อมทีมปฏิบัติการตำบลทั่วประเทศ เพื่อขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำให้เกิดมรรคผลเป็นรูปธรรม  



     วันนี้ (19 พ.ย. 64) เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมราชบพิธ อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์  เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายการขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน โดยเป็นการประชุมผ่านระบบ Video Conference ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยระดับจังหวัด ไปยังศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด และถ่ายทอดผ่านระบบ DOPA Channel ไปยังที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ โดยมีนายอำเภอ คณะกรรมการฯ ระดับอำเภอ และทีมปฏิบัติการตำบล ร่วมรับฟังกว่า 400,000 คน


     พลเอก อนุพงษ์  เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำเสมอมา เพื่อให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ผ่านกลไกกระทรวงและส่วนราชการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละด้าน ทั้งด้านการเกษตร ปศุสัตว์ สุขภาพ การศึกษา เป็นต้น รวมไปถึงในด้านแหล่งเงินผ่านกลไกธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และกองทุนของรัฐ เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) กองทุนด้านอื่น ๆ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเข้าไปขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับพื้นที่ จึงเป็นที่มาของการแต่งตั้งคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) และทีมขับเคลื่อนระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทีมพี่เลี้ยง” ซึ่งในการปฏิบัติงานระดับพื้นที่นั้น จะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับหลายส่วนราชการ จึงขอให้นายอำเภอใช้กลไก ศจพ.อำเภอ ในการขับเคลื่อนและหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนครัวเรือนเป้าหมายให้สำเร็จตั้งแต่ระดับอำเภอ


     พลเอก อนุพงษ์  เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อว่า เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรมตามแผนที่กำหนดไว้ จึงได้สั่งการให้กรมการพัฒนาชุมชนเร่งชี้แจงทำความเข้าใจทีมเลขานุการระดับจังหวัด และดำเนินการปรับปรุงข้อมูลครัวเรือนให้สมบูรณ์แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 และให้ทุกจังหวัดเร่งซักซ้อมทำความเข้าใจทีมปฏิบัติการตำบลดำเนินการ Re X-ray ทุกครัวเรือน เพื่อตรวจสอบว่ามีครัวเรือนไหนตกเกณฑ์ หรือมีปัญหาความเดือดร้อนต้องเข้าให้ความช่วยเหลือ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 พร้อมสั่งการให้กรมการปกครองแจ้งนายอำเภอมอบหมายให้ปลัดอำเภอเป็นผู้นำในการเสริมช่วยส่วนกรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้หารือกรณีการใช้จ่ายงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือ โดยให้ท้องถิ่นจังหวัดชี้แจงระเบียบ กฎหมาย ในการตั้งงบประมาณ ตลอดจนการบูรณาการร่วมกับรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ร่วมช่วยเหลือประชาชนผ่านกิจกรรม CSR ขององค์กร และให้สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชนเร่งสื่อสารสังคม เพื่อให้สังคมเกิดความรับรู้และเข้าให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา ให้บังเกิดผล เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีความสุข นอกจากนี้ ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินการโดยยึดตามกรอบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด โดยพิจารณาสภาพปัญหาตามบริบทในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งฝ่ายเลขานุการจะได้ชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกับกรุงเทพมหานครต่อไป


     สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างบูรณาการ เป็นรูปธรรมและยั่งยืนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ  โดยใช้ข้อมูล TPMAP 5 มิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านรายได้ ด้านการศึกษา และการเข้าถึงบริการภาครัฐ ขับเคลื่อนโดย 1) เติมเต็มข้อมูลในระบบ TPMAP ให้ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาทุกมิติและทุกพื้นที่ในประเทศ 2) ร่วมแก้ไขปัญหาในระดับบุคคล/ครัวเรือน หาเป้าหมายวิกฤติและเยี่ยมบ้าน (Knock Knock) โดยจำแนกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 ประเภท คือ กลุ่มเป้าหมายในระบบ TPMAP กลุ่มคนที่ตกหล่นจากระบบ (exclusion error) และกลุ่มครัวเรือนเปราะบาง ปี 2562 3) ร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โดยใช้ระบบ TPMAP วิเคราะห์ข้อมูล นำไปสู่การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง มาตรการ ให้สอดคล้องกับปัญหา 4) ร่วมติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล โดยใช้ระบบ TPMAP โดยมีกลไก 3 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด ผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด และกรุงเทพมหานคร (ศจพ.จ. และ ศจพ.กทม.) ระดับอำเภอ ผ่านศูนย์อำนวยการปฏิบัติการฯ อำเภอ และเขตในกรุงเทพมหานคร (ศจพ.อ. และ ศจพ.ข.) และระดับปฏิบัติการ ผ่านทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ และจะได้มีการจัดตั้งทีมพี่เลี้ยงเพื่อดูแล ติดตามการแก้ปัญหาความยากจนของครัวเรือน


     พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้กรมการพัฒนาชุมชน ศพจ.จังหวัด ศพจ.อำเภอ และทีมปฏิบัติการตำบล ดำเนินการสำรวจข้อมูลสภาพปัญหาด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมเป็นด้านที่ 6 นอกเหนือจากข้อมูลจากระบบ TPMAP ทั้ง 5 มิติ เพื่อให้ครอบคลุมสภาพปัญหาที่อาจยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และขอให้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการฯ ทุกระดับ และทีมปฏิบัติการฯ ตำบล ดำเนินการขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและเงื่อนเวลาที่กำหนดอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำเกิดมรรคผลเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด ต้องนำสิ่งที่ประชาชนขาด เติมเต็มประชาชนให้ได้ หลังจากนี้ทุกกลไกต้องไปช่วยทำให้เกิดขึ้น และขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนเพื่อให้พี่น้องประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน


กองสารนิเทศ สป.มท.

ครั้งที่ 181/2564

วันที่ 19 พ.ย. 2564

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

 ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง หลายฝ่ายเข้าสำรวจแหล่งน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจา...