นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564

"พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" ประธานพิธีลงนาม ไทย-ออสเตรเลีย ร่วมบริหารจัดการน้ำ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์ประชาชน

 "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" ประธานพิธีลงนาม ไทย-ออสเตรเลีย ร่วมบริหารจัดการน้ำ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์ประชาชน



วันที่ 17 กันยายน 2564 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ และพิธีมอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำ พร้อมด้วย H.E. Allan McKinnon เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมอาคารประปาวิวัฒน์ การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ โดยการจัดพิธีมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ได้มีการลงนามความร่วมมือทวิภาคี ระหว่างเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย กับเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ปลัด อว.,เลขาฯสทนช.,เลขาฯสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และหลังเสร็จสิ้นพิธีลงนาม พล.อ.ประวิตรฯ ได้เป็นประธานมอบรางวัลให้แก่ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำและเยาวชน จำนวน 39 คน




พลเอก ประวิตรฯ กล่าวว่า การจะบรรลุเป้าหมายที่ยั่งยืนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ต้องมีการวางแผนพัฒนาและขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกในยุคปัจจุบัน จำเป็นจะต้องบูรณาการทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นพลังในจัดการน้ำร่วมกันกับภาครัฐ เพื่อสร้างกระบวนการให้มีความเข้มแข็ง ตามนโยบายขององค์การสหประชาชาติ ที่ได้กำหนดให้เป็นปีเริ่มต้นทศวรรษแห่งการร่วมลงมือปฏิบัติของทุกประเทศ วันนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการลงนามความร่วมมือทวิภาคีระหว่าง สทนช. และกระทรวงการต่างประเทศและการค้าแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย รวมไปถึงการผนึกกำลังของภาครัฐในการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง สทนช. กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นย้ำให้ขับเคลื่อนความร่วมมือให้เห็นผลเป็นรูปธรรม มีความต่อเนื่อง และ สทนช. จะต้องหาแนวทางขยายความร่วมมือไปยังภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นด้วย




พล.อ.ประวิตรฯ กล่าวว่า นอกจากนี้ รัฐบาลมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นอีกหนึ่งแนวร่วมที่สำคัญ คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำและเยาวชน ซึ่งได้แสดงพลังความคิด มุมมองเชิงประยุกต์ สร้างสรรค์ คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านการจัดการน้ำ ในกิจกรรมวันน้ำโลกที่ผ่านมา ทำให้เห็นภาพการเดินไปสู่เป้าหมายของความยั่งยืนด้านน้ำของประเทศได้ชัดเจนขึ้น จึงขอให้หน่วยงานภาครัฐขยายผลความร่วมมือและยกระดับการบูรณาการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำของประเทศให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยจะมีการติดตามผลการดำเนินการต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันทุกความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำร่วมกันให้เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืนต่อไป


 ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขา สทนช.กล่าวว่า ประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 หรือ SDGs เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาคมโลก ซึ่ง ‘น้ำ’ นับว่าเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่เชื่อมโยงและช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย SGD ประเด็นอื่น ๆ โดยมี สทนช. ในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดการน้ำ และการสุขาภิบาลที่ยั่งยืนโดยร่วมมือทุกภาคส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผ่านกลไกการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ 


การลงนามระหว่างไทยกับออสเตรเลีย ครั้งนี้เป็นการยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือ North-South เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในมิติต่างๆ ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูล นวัตกรรมเทคโนโลยี และการจัดกิจกรรมทางวิชาการร่วมกัน รวมถึงแบ่งปันความรู้ความเชี่ยวชาญการบริหารจัดการพื้นที่แล้ง และความเชื่อมโยงระหว่างน้ำ พลังงาน และอาหารของสองประเทศ ขณะเดียวกัน ยังรวมถึงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สทนช. และหน่วยงานภาครัฐ 3 หน่วยงาน จาก 2 กระทรวง ได้แก่


1.กระทรวงการอุดมศึกษา ฯ ในการเร่งผลักดันงานศึกษาวิจัยให้สอดคล้องกับแผนแม่บทฯ น้ำ 20 ปี ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช), สร้างเครือข่ายร่วมกับสถาบันการศึกษาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช), พัฒนาฐานข้อมูล ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน ให้เป็นสื่อกลางในการขยายองค์ความรู้ไปสู่ภาคประชาชนอย่างเป็นระบบ พร้อมพัฒนาฐานข้อมูลที่ทันสมัยรองรับการบริหารจัดการน้ำ 

2.สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแสวงหาแนวทางการบริหารทรัพยากรน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเร่งสร้างมาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่อิงกับระบบนิเวศ และ 3.กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกำหนดเป้าหมาย และขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วย


ภายในพิธีลงนามยังมีกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมสืบเนื่องจากการจัดงานวันน้ำโลกปีนี้ คือพิธีมอบรางวัลแก่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำ ซึ่งได้รับการคัดเลือกโดยคณะกรรมการจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.การจัดการน้ำภาคครัวเรือน ชุมชน และเมือง 

2.การจัดการน้ำภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ 

3.การศึกษา งานวิจัย และนวัตกรรมด้านน้ำ 4.น้ำกับประเพณี วัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ธนากร โกศลเมธีรายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร 0818923514

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

 ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง หลายฝ่ายเข้าสำรวจแหล่งน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจา...