นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน

นางสาว ภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน พร้อมคณะครูโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน
ถวายพระพร

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ

ทิป สนับสนุนเว็บ Pages ครับ
ทิป บ๊อก สนับสนุน เว็บ Pages

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564

“พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” พร้อมคณะบริหารพรรค พปชร. ลงพื้นที่กรุงเก่า

 “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” พร้อมคณะบริหารพรรค พปชร. ลงพื้นที่กรุงเก่า



“พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” พร้อมคณะบริหารพรรค พปชร. ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจความพร้อมพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำหลาก มั่นใจไม่เกิดมหาอุทกภัยซ้ำรอย ปี 54 แน่นอน พร้อมเร่ง 9 แผนหลัก บรรเทาอุทกภัยลุ่มเจ้าพระยา





วันที่ 22 กันยายน 2564 ณ บริเวณโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) และในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ นำคณะผู้บริหารพรรค ประกอบด้วย พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานยุทธศาสตร์พรรค ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรค นายวิรัตน์ รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล รวมทั้งรัฐมนตรีของพรรค อาทิ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง นายอธิรัช รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม และนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดีอีเอส   นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ พร้อมด้วย ส.ส ในหลายพื้นที่ มาร่วมให้การต้อนรับอย่างพร้อมเพรียงเพื่อร่วมติดตามความพร้อมของการบริหารจัดการน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มต่ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 





โดยนายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวต้อนรับและรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่ นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำเสนอภาพรวมการบริหารจัดการน้ำรับน้ำหลากตามมาตรการ กอนช. และแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบในลุ่มน้ำเจ้าพระยา นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นำเสนอแนวทางการจัดการและเตรียมพื้นที่รับน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มต่ำ และนายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำเสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือประชาชน พร้อมด้วย ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ เข้าร่วมประชุม 


จากนั้น พลเอก ประวิตร ฯ พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมประตูระบายน้ำบางบาล และให้สัมภาษณ์ว่า 


“การลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ที่ในขณะนี้มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น   ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ ส.ส.จะตามมาด้วย เพื่อดูแลประชาชนไม่ใช่เป็นการวัดกำลังกับนายกฯ ซึ่งก็ไปเพชรบุรีเช่นเดียวกัน ไม่อยากให้สื่อถามให้ขัดแย้งกัน”


นอกจากนี้ พลเอก ประวิตรฯ  ยังกล่าวถึงการดูแลสถานการณ์น้ำว่า ทางกรมชลประทานได้เพิ่มอัตราการระบายของเขื่อนเจ้าพระยาเป็น 1,481 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณท้ายเขื่อนบางแห่งที่ได้รับผลกระทบ จากมวลน้ำเข้าพื้นที่ เกษตร ประกอบด้วย พื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณ  คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำน้อยที่ ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีราษฎรประมาณ 602 ครัวเรือน 

  

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์น้ำท่วมเช่นนี้เป็นเรื่องปกติที่ชาวบ้านในพื้นที่รับรู้ว่าจะเกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงฤดูน้ำหลาก ซึ่ง กอนช. ได้ให้กรมชลประทานเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ และเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังยังจุดเสี่ยงล่วงหน้า พร้อมทั้งประสานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานท้องถิ่น เพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบอย่างต่อเนื่องแล้ว

  

สำหรับความพร้อมของพื้นที่ในการรับน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   ได้มอบหมายให้ทุกจังหวัดในพื้นที่ โดยเฉพาะ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นด่านหน้าก่อนมวลน้ำจะไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดำเนินการตาม 9 มาตรการรับมือฤดูฝนของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด พร้อมเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงรับน้ำหลากและเตรียมแผนเผชิญเหตุให้พร้อม และให้จังหวัดร่วมบูรณาการกับกรมชลประทานพิจารณาความเหมาะสมในการรับน้ำหลากเข้าทุ่งของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างทั้ง 10 แห่ง 


โดยกำหนดให้ดำเนินการหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ประกอบด้วย ทุ่งเชียงราก ทุ่งท่าวุ้ง  ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท–ป่าสัก ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งบางบาล-บ้านแพน ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด และทุ่งโครงการฯ โพธิ์พระยา รวมทั้งให้ปรับลดการระบายน้ำจากแหล่งน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก พร้อมทั้งวางแผนเก็บน้ำสํารองทุกแหล่งทั้งผิวดินและใต้ดิน ไว้รองรับในช่วงฤดูแล้งหน้า

  

ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำกรมชลประทานเร่งดำเนินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร ซึ่งเป็น 1 ใน 9 แผนหลักของการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายในปี 2566 ขณะเดียวกัน จะต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้และรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้การยอมรับและเกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนแผนงานด้านน้ำระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาด้านน้ำในพื้นที่ได้อย่างตรงจุดและยั่งยืนด้วย

   

สำหรับ ทุ่งบางบาลมีสภาพเป็นเกาะ มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มผืนใหญ่ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผง (คลองบางหลวง)  ช่วงฤดูน้ำหลาก น้ำจากแม่น้ำลำคลองซึ่งล้อมรอบทุ่งบางบาล จะไหลบ่าเข้าไปในทุ่งเป็นประจำทุกปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่ทุ่งบางบาลที่ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาหว่านที่ต้องอาศัยน้ำฝนไถหว่านตอนต้นฤดู กรมชลประทานจึงได้เข้ามาแก้ไขปัญหาด้วยการดำเนิน  โครงการสูบน้ำทุ่งบางบาล บ้านมะขามเทศ หมู่ที่ 2 จ.พระนครศรีอยุธยา ขึ้นโดยก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2513 และดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2525 ใช้งบประมาณ ประมาณ 450 ล้านบาท  โครงการนี้จึงมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาน้ำหลาก ในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

ธนากร โกศลเมธีรายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร 0818923514

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

 ชุมพร - สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง หลายฝ่ายเข้าสำรวจแหล่งน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจา...